รองศาสตราจารย์ประหยัด สายวิเชียร
Assoc.Prof. Prayad Saiwichian
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
prayad07cmu@gmail.com
อาหารล้านนานี้ จัดทำขึ้นมีสาระประกอบด้วย: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออาหารล้านนา ธรรมชาติของการปรุงอาหารในอดีตและปัจจุบัน ลักษณะอาหารประเภทต่างๆ (ประเภทอาหารจานเดียว ประเภทแกง จอ ประเภท ผัด นึ่ง ยำ ประเภทตำ น้ำพริก ประเภทปิ้ง ย่าง ทอดและขนม) เครื่องปรุงรสและคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง อาหารล้านนาแต่ละประเภทมีจำนวนมาก ฉะนั้นจะเลือกนำเสนออาหารที่ได้รับความนิยม และเครื่องปรุงหรือวัตถุดิบ หาได้ง่าย การปรุงคำนึงถึงรสชาติเดิมของอาหารและสงวนคุณค่าทางโภชนาการเป็นหลัก บางตำรับได้เพิ่มเนื้อสัตว์เพื่อให้ได้รับสารอาหารโปรตีนเพิ่มขึ้น รวมทั้งได้เพิ่มกะปิและเกลือ ในเครื่องน้ำพริกแกง เพื่อให้ได้ธาตุไอโอดีนเพิ่มขึ้นด้วย
จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 10 ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 3 ชั่วโมง 30 นาที)
ผู้เรียนรายวิชานี้ ควรเป็นผู้ที่มีความสนใจในเรื่อง วัฒนาธรรมของชาวล้านนา หรือชื่นชอบอาหารล้านนา และสนใจในการประกอบอาหารเพื่อรับประทาน หรือเพื่อการประกอบอาชีพ และควรเป็นผู้มีความรู้พื้นฐานด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์
เมื่อผู้เรียนได้คะแนนจากการประเมินตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป ถือว่าผ่านหลักสูตรอาหารล้านนา รวมทั้งจะได้รับประกาศนียบัตรอิเลคทรอนิกส์ด้วยเมื่อผ่านการประเมินผลตามเกณฑ์ดังกล่าว โดยมีเกณฑ์การประเมินดังนี้
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
prayad07cmu@gmail.com
สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยพายัพ
s_onanong@hotmail.com
Ms.Patchara Saiwichian