อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหลัก
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ สกุลพรรณ์
กลุ่มวิชาการพยาบาลจิตเวช สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ช่องทางติดต่อทีมผู้สอน
e-Mail : denthana.dechap@cmu.ac.th / เบอร์โทรศัพท์ : 097-920-9893
การฆ่าตัวตายเป็นเรื่องที่เป็นปัญหาอย่างมากของสังคมไทยและสังคมโลก ณ ปัจจุบัน โดยประมาณแล้วพบว่าทุกๆ 30 - 40 วินาที จะมีคนในโลกนี้ฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 คน หรือทุกๆ 1 ชั่วโมง ฆ่าตัวตายสำเร็จ ประมาณ 90 – 120 คน หรือวันละประมาณ 2,160 – 2,880 คน ฉะนั้นทุก ๆ ปีจะมีคนฆ่าตัวตายสำเร็จประมาณ 788,400 – 1,051,200 ล้านคน ซึ่งเป็นจำนวนการเสียชีวิตของประชากรโลกที่สูงมาก โดยสถานการณ์เป็นแบบนี้มานานหลายปีแล้ว และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
สำหรับประเทศไทยมีคนตายจากการฆ่าตัวตายประมาณวันละ 12 คน หรือประมาณปีละมากกว่า 4,000 คน เฉลี่ย 6.35 ต่อแสนประชากรโดยในเขตภาคเหนือตอนบน ได้แก่จังหวัด เชียงใหม่ เชียงเราย ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน และ แพร่ มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุดของประเทศ คือ 10.88 – 14.20 ต่อแสนประชากร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลักคือกรมสุขภาพจิต ได้มีกลยุทธ์และมาตรการในการป้องกันปัญหาดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังไม่ได้ผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าในปี 2564 จะลดอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จเหลือไม่เกิน 6.0 ต่อแสนประชากร ปัญหาดังกล่าวมีเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลากหลาย ทุกภาคส่วนจึงต้องช่วยกัน โดยเฉพาะการให้ความรู้ความเข้าใจในปัญหา เหตุของปัญหา และที่สำคัญคือการป้องกันปัญหาให้เกิดน้อยลง เพื่อลดการสูญเสียทรัพยากรมนุษย์ซึ่งมีค่าอนันต์ และลดผลกระทบต่างๆ อีกมากมายที่ตามมาเมื่อมีพฤติกรรมการพยายามฆ่าตัวตายแล้วไม่สำเร็จแต่บาดเจ็บหรือพิการและการฆ่าตัวจนสำเร็จ ได้แก่ผลกระทบต่อผู้กระทำ ครอบครัวคนรอบข้าง รวมทั้งผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจ ฉะนั้นหากประชาชนทั่วไปและผู้เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น บุคลากรทางสุขภาพ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และผู้สนใจในปัญหาดังกล่าว ได้เรียนรู้เรื่องศาสตร์เพื่อป้องกันอัตวินิบาตกรรมหรือการฆ่าตัวตาย โดยรับรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาการฆ่าตัวตาย แนวโน้มของปัญหาในอนาคต ผลกระทบจากปัญหา และแนวทางหรือวิธีการป้องกันปัญหา ตลอดจนการช่วยเหลือผู้มีปัญหาแล้ว น่าจะ เกิดประโยชน์และมีความสำคัญมากในการช่วยให้ปัญหาดังกล่าวได้รับความสนใจ ผู้เรียนจะมีความรู้ความเข้าใจ มีความตระหนักในปัญหา แล้วหันมาร่วมมือกันในการป้องกันปัญหาดังกล่าวได้อย่างครอบคลุม และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
สถานการณ์ปัญหาการฆ่าตัวตาย ความหมายของการฆ่าตัวตาย เหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการฆ่าตัวตาย ผลกระทบจากการฆ่าตัวตาย การประเมินความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย การป้องกันปัญหาและช่วยเหลือผู้มีปัญหาการฆ่าตัวตาย
จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 10 ชั่วโมงการเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 3 ชั่วโมง 30 นาที)
รายวิชาศาสตร์เพื่อป้องกันอัตวินิบาตกรรม (การฆ่าตัวตาย) (The Sciences for Suicide Prevention) เป็นการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามเวลาที่ต้องการ
1. ผู้เรียนสามารถบอกสถานการณ์ปัญหาการฆ่าตัวตายของโลกและของประเทศไทยได้
2. ผู้เรียนสามารถอธิบายความหมายของการฆ่าตัวตายตามแนวคิดต่างๆ และบอกเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการฆ่าตัวตายได้
3. ผู้เรียนสามารถบอกผลกระทบจากการฆ่าตัวตาย และบอกวิธีการหรือเครื่องมือสำหรับประเมินความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายได้
4. ผู้เรียนสามารถบอกแนวทางหรือวิธีการป้องกันปัญหาและช่วยเหลือผู้มีปัญหาการฆ่าตัวตายได้
นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ทุกเพศ ทุกวัย ที่สนใจสามารถเรียนได้
เข้าทำแบบทดสอบก่อนเรียน กิจกรรมในบทเรียน แบบทดสอบระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน
ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ สกุลพรรณ์
กลุ่มวิชาการพยาบาลจิตเวช สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
e-Mail : denthana.dechap@cmu.ac.th / เบอร์โทรศัพท์ : 097-920-9893
“สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org)
และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”