อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหลัก
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดร.ธนิดา ศรีสุวรรณ
ภาควิชาทันตกรรมบูรณะและปริทันตวิทยา
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ และฝึกฝนความสามารถในการตรวจโรคของช่องปากและฟันนั้น มีความสำคัญต่อทั้งประชาชนทั่วไป รวมถึงบุคลากรที่เกี่ยวข้องทางสุขภาพ เช่น บุคลากรทางสาธารณสุขศาสตร์ ผู้ที่สนใจจะพัฒนาศักยภาพในการทำงานฝึกเป็นผู้ช่วยทันตแพทย์ ผู้ให้การดูแลผู้สูงอายุ ผู้ให้การดูแลเด็ก และพนักงานให้การดูแล เนื่องจากโรคที่เกิดขึ้นภายในช่องปาก เช่น ฟันผุในหลายระดับ โรครำมะนาด การติดเชื้อราช่องปาก และโรคมะเร็ง หากตรวจพบในระยะต้นจะส่งผลต่อการวางแผนการรักษาได้ ซึ่งการตรวจพบที่รวดเร็วจะทำให้ลดความซับซ้อนรวมถึงค่าใช้จ่ายของการรักษาลงไปได้
ดังนั้น การเรียนรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนวิชาของทันตแพทย์ เช่น อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจฟันและเนื้อเยื่อในช่องปาก เทคนิคขั้นตอนที่ใช้ในการตรวจช่องปากและเนื้อเยื่อ รวมไปถึงความรู้เกี่ยวกับฟันและอวัยวะข้างเคียง จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประชาชนทั่วไปรวมถึงบุคลากรที่คาดว่าจะมีความเกี่ยวข้องกับสุขภาพ ทั้งนี้เพื่อเป็นการกระจายความสามารถของบุคลากรที่จะดูและส่งเสริมสุขภาพกับประชาชนทั่วไปได้
จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 10 ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 3 ชั่วโมง 33 นาที)
1. ผู้เรียนสามารถบอกความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับฟันและเนื้อเยื่อในช่องปากได้
2. ผู้เรียนสามารถอธิบายถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคของฟันและช่องปากได้
3. ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์วินิจฉัยโรคของฟันและช่องปากแบบพื้นฐานได้
4. เรียนสามารถอธิบายการตรวจฟันและช่องปากแบบพื้นฐานได้
5. ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์เลือกแนวทางการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคของฟันและช่องปากแบบพื้นฐานได้
มีความรู้พื้นฐานในวิชาวิทยาศาสตร์ และเข้าใจภาษาอังกฤษระดับพื้นฐาน
เข้าทำแบบทดสอบก่อนเรียน กิจกรรมในบทเรียน แบบทดสอบระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน
ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดร.ธนิดา ศรีสุวรรณ
ภาควิชาทันตกรรมบูรณะและปริทันตวิทยา
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
e-Mail: denthana.dechap@cmu.ac.th เบอร์ติดต่อ: 053-943856
“สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org)
และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”