ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วิกฤตการณ์โลกร้อนและการแก้ปัญหา | The global warming solutions


CU

รายวิชาเรียนตามอัธยาศัย

รายวิชานี้ได้ปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเป็น "การเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced)"

วิชานี้เกี่ยวกับอะไร

"การแก้ปัญหาโลกร้อน"

   มลภาวะ และความร้อนที่เกิดขึ้นจากการเดินทางเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดปัญหาโลกร้อน รวมทั้งอุตสาหกรรมการผลิต สภาพแวดล้อมเหล่านี้ส่งผลให้อุณหภูมิอากาศร้อนขึ้น แนวทางการแก้ปัญหาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันคือการปรับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และการใช้เครื่องใช้เครื่องปรับอากาศ แต่ถ้าเราเข้าใจธรรมชาติ และเลือกใช้วัสดุในการสร้างอาคารที่เหมาะสม เช่น หลังคา กระจก ผนังกันความร้อน ผนวกกับการประยุกต์ใช้น้ำเพื่อระบายความร้อน และวางแผนการจัดการขยะของเสียในชีวิตประจำวัน ก็จะทำให้การแก้ปัญหาโลกร้อนมีความยั่งยืนและลดผลกระทบที่จะสร้างภาวะเรือนกระจก

จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 10 ชั่วโมงการเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 3 ชั่วโมง 30 นาที)

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

   1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจสาเหตุของปัญหา การคำนวณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในชีวิตประจำวัน

   2. เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงวิธีการแก้ไขปัญหาโลกร้อนที่ปัจจัยที่สำคัญและมีผลกระทบสูง

คุณสมบัติผู้เรียน

   สำหรับผู้เรียนทั่วไปที่มีความสนใจ ทั้งนี้ในเนื้อหาวิชามีแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อให้ผู้สนใจประเมินและวางแผนการศึกษาด้วยตัวเองเพิ่มเติมได้ เนื้อหาวิชาจึงเหมาะสำหรับผู้เรียนทุกกลุ่ม ทุกวัย

เกณฑ์การวัดผล

   เข้าทำแบบทดสอบก่อนเรียน / มีผลคะแนนแบบทดสอบระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียนไม่น้อยกว่า 50%

ทีมผู้สอนและพัฒนา MOOC

Course Staff Image #1

ชื่อผู้สอน

ศ.ดร.สุนทร บุญญาธิการ
ข้าราชการบํานาญและอาจารย์พิเศษ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นอกจากนี้ท่านยังดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา กรรมการสภาสถาปนิก และประธานมูลนิธิลดโลกร้อนด้วย ท่านมีผลงาน รางวัลและเกียรติคุณ หลายรายการ อาทิ รางวัลและเกียรติคุณ
-ปี 2554 รางวัล Thailand Energy Awards 2001 "อาคารสร้างสรรค์เพื่อการอนุรักษ์พลังงานประเภทอาคารใหม่" สำหรับผลงานอาคารศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
-ปี 2554 รางวัล Platinum Certificate for meeting the standard of the Malaysia Green Building Index (GBI) and the Singapore BCA Green Mark

Course Staff Image #2

ผู้ช่วยสอน

ดร.สุธีวัน โลห์สุวรรณ
สถาปนิก และ นักวิจัย ผลงานด้านวิชาชีพ อาทิ
- โครงการออกแบบก่อสร้าง สถานที่สำหรับพิธีเปิดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, สะพานเชื่อมจากสถานที่สำหรับพิธีไปอาคารผู้โดยสาร ชั้น 4 และป้าย “ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ SUVARNABHUMI AIRPORT"
- ผู้ออกแบบวางผังและควบคุมงานก่อสร้าง การออกแบบก่อสร้างห้องเรียนธรรมชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ลักษณะโครงการ: ปรับปรุงพื้นที่และออกแบบอาคารเพื่อการประหยัดพลังงาน

cc

Creative common สัญญาอนุญาตสิทธิ์

“สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”

Enroll