ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การผลิตเชื้อเพลิงแข็งและถ่านกัมมันต์จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร | The production of solid fuel and activated carbon from agricultural waste


CU
ปิดการลงทะเบียนแล้ว

thaimooc.ac.th


รายวิชาเรียนตามอัธยาศัย

รายวิชานี้ได้ปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเป็น "การเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced)"


"The production of solid fuel and activated carbon from agricultural waste"

วิชานี้เกี่ยวกับอะไร

วิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจการผลิตถ่านอัดแท่ง กระบวนการผลิตถ่านกัมมันต์ เพื่อแปลงวัสดุเหลือทิ้งให้เกิดประโยชน์และมีมูลค่าเพิ่ม นอกจากนี้บทเรียนยังอธิบายถึงการวิเคราะห์การผลิตในเชิงเศรษฐศาสตร์เพื่อเพิ่มความสามารถของเกษตรผู้ผลิตให้สามารถดำเนินการได้ในเชิงพานิชย์ และไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม

จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 10 ชั่วโมงการเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 3 ชั่วโมง 30 นาที)

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

   1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจการผลิตถ่านอัดแท่ง ชีวะมวลอัดแท่งที่มีคุณภาพและเข้าใจในกระบวนการผลิตถ่านกัมมันต์

   2. เพื่อให้ผู้เรียนตระหนัก ถึงการวิเคราะห์การผลิตในเชิงเศรษฐศาสตร์ของการผลิตว่าเป็นไปได้ในการที่ขยายการผลิตในเชิงพาณิชย์ และขั้นตอนการผลิตทุกขั้นตอนที่ต้องระวังไม่ให้ก่อมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม

คุณสมบัติผู้เรียน

ผู้สนใจสามารถเรียนรู้เนื้อหาได้โดยไม่ต้องมีความรู้ในเรื่องนี้มาก่อน โดยผู้เรียนจะประสบความสำเร็จในการเรียนได้โดยการเข้าศึกษาเนื้อหาให้ครบทุกหัวข้อ และทำแบบฝึกหัดท้ายบทเรียนให้ครบถ้วน

เกณฑ์การวัดผล

   เข้าทำแบบทดสอบก่อนเรียน / มีผลคะแนนแบบทดสอบระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียนไม่น้อยกว่า 50%

ทีมผู้สอนและพัฒนา MOOC

Course Staff Image #1

ชื่อผู้สอน

ศาสตราจารย์ ดร.ธราพงษ์ วิทิตศานต์
อาจารย์และกรรมการบริหารสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หัวหน้าโครงการในการศึกษาและสำรวจการแปรรูปขยะ ถ่านหิน วัสดุเหลือทิ้งให้เป็นพลังงานกว่า 20 โครงการ อาทิ
หัวหน้าโครงการสำรวจและออกแบบรายละเอียดเพื่อก่อสร้างศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า (ในส่วนของการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ) แหล่งทุน กรมควบคุมมลพิษ ปี 2557-2558
หัวหน้าโครงการศึกษาและสำรวจศักยภาพในการจัดตั้งศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าบริเวณพื้นที่ชุมชนหัวหิน ชะอำ แหล่งทุน มูลนิธิสิ่งแวดล้อมสิรินธรระยะเวลา 2558-2559

Course Staff Image #2

ผู้ช่วยสอน

ดร.รุ่งระวี เพียรลุผล

นักวิจัยผู้มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเคมิคอล และได้รับทุน The Royal Golden Jubilee (RGJ) Ph.D. Scholarship from Thailand Research Fund

cc

Creative common สัญญาอนุญาตสิทธิ์

“สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”