ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การผลิตสื่ออีเลิร์นนิงเพื่อการศึกษา | e-Learning Production for Education


CU
ปิดการลงทะเบียนแล้ว

thaimooc.ac.th


รายวิชานี้ได้ปรับเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced Learning)

เกี่ยวกับรายวิชา

ความหมายของอีเลิร์นนิง และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ องค์ประกอบที่ต้องคำนึงในการผลิตและพัฒนา อีเลิร์นนิง หลักการถ่ายทอดเนื้อหาและรูปแบบในการออกแบบและพัฒนาในการผลิตเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงประเภทและลักษณะสำคัญของอีเลิร์นนิง และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โปรแกรมและการใช้งานเบื้องต้นสำหรับงานผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงแนวทางในการประเมินสื่อการเรียนรู้ และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องในการผลิต เช่น Creative Common เป็นต้น

วัตถุประสงค์รายวิชา

1 ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวความหมาย องค์ประกอบ และประเภทของอีเลิร์นนิง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับใช้ในการศึกษา

2.ผู้เรียนสามารถออกแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์บนพื้นฐานของหลักการออกแบบสื่อการเรียนรู้ รวมถึงกำหนดประเภทสื่อที่เหมาะสมสอดคล้องกับรูปแบบเนื้อหาและเป้าประสงค์

3. ผู้เรียนสามารถอธิบายถึงแนวทางในการใช้สื่อ และข้อมูลเพื่อนำมาผลิตเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ตามหลักการของสัญญาอนุญาติครีเอทีฟคอมมอน (Creative Common)

4. ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ วิจารณ์สื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามแนวทางการออกแบบสื่อการเรียนการสอน (Instructiona Design) และหลักการในการออกแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องได้

ระยะเวลาในการเรียน

จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 3 ชั่วโมงการเรียนรู้ (1 ชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์)

คุณสมบัติผู้เรียน/
ความรู้พื้นฐานที่ควรมีมาก่อน

ไม่มี

 

การวัดประเมินผล และเกณฑ์การให้คะแนน

1. การเข้าศึกษาเนื้อหาและเข้าร่วมกิจกรรม
2. การอภิปรายร่วมกับอาจารย์และเพื่อนร่วมชั้นเรียน
3. ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสะท้อนความคิดเห็นบนระบบ
4. ผลการทดสอบ
5. ผู้เรียนได้รับประกาศนียบัตรอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อผ่านเกณฑ์การประเมินและได้ผลการประเมิน 70% ขึ้นไป

ทีมผู้สอน

 

 

อาจารย์ ดร.ธีรวดี ถังคบุตร

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

e-Mail : cu01.mooc@gmail.com

 

 

 

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรสุข ตันตระรุ่งโรจน์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

e-Mail : cu01.mooc@gmail.com

 

  "สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA"