ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

แนวทางเวชปฏิบัติโรคพิษสุนัขบ้า | Clinical Practice Guideline for Rabies Exposure


DDC

เกี่ยวกับรายวิชา

แนวทางเวชปฏิบัติโรคพิษสุนัขบ้าจัดทำขึ้นโดยคณะผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพิษสุนัขบ้า โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์และผู้ที่สนใจมีความรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าและแนวทางการดูแลรักษาผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า ตั้งแต่การประเมินความเสี่ยงของการติดโรค การดูแลบาดแผลเมื่อถูกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกัด การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแก่ผู้สัมผัสโรค การให้อิมมูโนโกลบุลิน การฉีดวัคซีนป้องกันโรคล่วงหน้า และการเก็บตัวอย่างผู้ป่วยหรือผู้เสียชีวิตที่สงสัยโรคพิษสุนัขบ้า ส่งผลให้เกิดการดูแลรักษาผู้สัมผัสโรคอย่างถูกต้องและช่วยป้องกันโอกาสเสี่ยงจากการเสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าได้

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

  1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าและวิธีการป้องกันตนเองจากโรคพิษสุนัขบ้าได้
  2. เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขสามารถประเมินความเสี่ยงจากการสัมผัสโรคของ
    ผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าได้
  3. เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถอธิบายและเลือกวิธีการดูแลรักษาผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าอย่างถูกต้อง
  4. เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถเลือก protocol การให้วัคซีนและอิมมูโนโกลบุลินป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแก่ผู้สัมผัสโรคตามการประเมินความเสี่ยงได้อย่างถูกต้อง
  5. เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถอธิบายการเก็บตัวอย่างผู้ป่วยหรือผู้เสียชีวิตที่สงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้

หัวข้อบทเรียน 

 บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า 

 บทที่ 2 การวินิจฉัยภาวะเสี่ยงของโรคจากการสัมผัส

 บทที่ 3 การดูแลรักษาผู้สัมผัสโรค

 บทที่ 4 การให้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแก่ผู้สัมผัสโรค (Post-exposure immunization)

 บทที่ 5 การให้อิมมูโนโกลบุลินป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (RIG) แก่ผู้สัมผัสโรค

 บทที่ 6 การฉีดวัคซีนป้องกันโรคล่วงหน้า(Pre-exposure immunization)

 บทที่ 7 การให้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแก่ผู้สัมผัสโรคกลุ่มพิเศษ

 บทที่ 8 การเก็บตัวอย่างผู้ป่วยหรือผู้เสียชีวิตที่สงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้า

 บทที่ 9 คำถามที่พบบ่อย

 

จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้

3 ชั่วโมงการเรียนรู้

 

จำนวนชั่วโมงที่แนะนำต่อสัปดาห์

1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

 

คุณสมบัติผู้เรียน

บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข / บุคลากรทั่วไปที่สนใจ 

 

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

รายวิชานี้มีประกาศนียบัตรรับรองจากกรมควบคุมโรคและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อผู้เรียนผ่านเกณฑ์การวัดและประเมินผล โดยคิดคะแนนดังนี้

แบบทดสอบระหว่างเรียนทุกบท 60%

แบบทดสอบหลังเรียน (Final Exam) 40%

ผู้เรียนที่มีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่า ผ่านเกณฑ์และรับประกาศนียบัตรได้

 

อาจารย์ผู้สอน 

Suda1

พญ.สุดา พันธุ์รินทร์

ผู้เชี่ยวชาญนายแพทย์ระดับ 8 ด้านวิชาการ

สถานเสาวภา สภากาชาดไทย

 

Tee

ศ.นพ. ธีระพงษ์  ตัณฑวิเชียร

หน่วยโรคติดเชื้อ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สถานเสาวภา สภากาชาดไทย

 

Chu

ดร.สุภาภรณ์ วัชรพฤษาดี

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

 

Bow

พญ. ปิยดา อังศุวัชรากร

แพทย์ประจำกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค

 

Jib

อาจารย์รัตนา ธีรวัฒน์ 

หัวหน้ากลุ่มกองโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน

กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

 

 

ทีมผู้รับผิดชอบรายวิชา

กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค

logo

 

ติดต่อทีมผู้สอน 

กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค 

02-590-3177-8 

E-mail: zoocdc.moph@gmail.com

 

 

cc

Creative commons สัญญาอนุญาตสิทธิ์

“สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org)
และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”

Enroll