ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สตาร์ทอัพ มุ่งสู่ฝัน | Startup: Pushing your Dream


DEPA

รายวิชานี้ได้ปรับเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced Learning)



สตาร์ทอัพ มุ่งสู่ฝัน
Startup: Pushing your Dream



สตาร์ทอัพมุ่งสู่ฝัน (Startup: Pushing your Dream) เน้นการเรียนรู้เพื่อจุดประกายและให้ผู้เรียนเข้าใจวิธีการทำสตาร์อัพได้อย่างถูกวิธี แนะนำสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จมีวิธีการดำเนินงานอย่างไร ค้นหาไอเดียนวัตกรรมเพื่อเป็นพื้นฐานในการทำสตาร์ทอัพ นอกจากนี้ยังแนะนำการเริ่มต้นธุรกิจด้วยการเรียนรู้กลุ่มเป้าหมายและตอบโจทย์การทำการตลาดอย่างยั่งยืน แนะนำความสำคัญของการทำความเข้าใจกลุ่มลูกค้าเพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคได้มากที่สุด นำเสนอเคล็ดลับวิธีการทำสตาร์ทอัพให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด อธิบายการวัดผล เครื่องมือ และตัวชี้วัดต่างๆ (Business Model) ใหม่ๆ ที่จะเข้ามาช่วยให้สตาร์ทอัพเติบโต ยังเจาะลึกการลงทุนในรูปแบบต่างๆ ในธุรกิจสตาร์ทอัพ ความสำคัญของการลงทุน เจาะลึกการทำงานของ Venture Capital (VC) ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ และสุดท้าย กล่าวถึงวิธีการนำเสนอแผนธุรกิจ (Pitch) รูปแบบ องค์ประกอบหลักๆ ในการนำเสนอ ความแตกต่างที่ต่างจากการนำเสนอทั่วไป และตัวอย่างการนำเสนอที่น่าสนใจ เพื่อให้สตาร์ทอัพได้เรียนรู้เพื่อที่จะนำองค์ความรู้ไปพัฒนาธุรกิจสตาร์ทอัพให้ประสบความสำเร็จ เพื่อก้าวไปสู่การเป็นยูนิคอร์นในอนาคตได้

จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 2 ชั่วโมงการเรียนรู้

____________________________________________________________________

LO1 เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานในการทำสตาร์ทอัพ และรู้จักสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ

LO2 เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจวิธีการทำสตาร์ทอัพได้อย่างถูกวิธีและสามารถอธิบายวิธีการเริ่มดำเนินงานของสตาร์ทอัพได้

LO3 เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำหลักการและวิธีดำเนินการต่างๆ มาเป็นแนวทางในการเลือกกลุ่มลูกค้าเพื่อตอบโจทย์การตลาดอย่างเป็นมืออาชีพ

LO4 เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำเทคนิค เคล็ดลับในการหาไอเดีย วิเคราะห์การตลาดหากลุ่มเป้าหมาย และการวัดผล เพื่อทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว

LO5 เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ด้านการลงทุน ปรับปรุงธุรกิจให้เป็นที่สนใจของนักลงทุน

LO6 เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำหลักเกณฑ์ ความรู้ที่ได้รับมาพัฒนาต่อยอด เข้ากับธุรกิจสตาร์ทอัพของตนเองเพื่อเป็นการไปสู่การนำเสนอผลงานและเป็นสตาร์ทอัพที่ประสบผลสำเร็จได้

____________________________________________________________________

- ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้ที่มีแนวคิดสร้างสรรค์
- ผู้เรียนควรมีอุปกรณ์ดิจิทัล อาทิ คอมพิวเตอร์ แท็ปเล็ต สมาร์ทโฟน ที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ เพื่อจะได้ทดลองปฏิบัติตามหลักสูตรได้

____________________________________________________________________

ผู้เรียนจะต้องได้คะแนนอย่างน้อย ร้อยละ 70 โดยมีการเก็บคะแนน ดังนี้

- กิจกรรมระหว่างเรียน ร้อยละ 25 - ทดสอบย่อย ร้อยละ 75
____________________________________________________________________

ผศ.ดร.สุภาภรณ์ เกียรติสิน

ผศ.ดร.สุภาภรณ์ เกียรติสิน

หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล

ดร.ปรีสาร รักวาทิน

ดร.ปรีสาร รักวาทิน

ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล

อ. ยุทธพงศ์ อุณหทวีทรัพย์

อ. ยุทธพงศ์ อุณหทวีทรัพย์

อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล

____________________________________________________________________

- ผู้เรียนควรจัดสรรเวลาในการเข้าใช้ระบบ เพื่อศึกษาเนื้อหาและทำกิจกรรมตามโครงสร้างรายวิชา อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง
- การเรียนในภาคปฏิบัติการ ผู้เรียนควรทดลองปฎิบัติตามขั้นตอนการแนะนำ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
Creative commons สัญญาอนุญาตสิทธิ์ “สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”
Enroll