ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เทคโนโลยีเกษตร สำหรับคนเกษตร | Agri Tech for Smart Farmer


DEPA

รายวิชานี้ได้ปรับเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced Learning)



เทคโนโลยีเกษตร สำหรับคนเกษตร
Agri Tech for Smart Farmer



รายวิชาเทคโนโลยีเกษตร สำหรับคนเกษตร เป็นรายวิชาที่เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตผลทางการเกษตร เรียนรู้ห่วงโซ่ความสัมพันธ์ทางด้านการเกษตร (AgriTech Supply Chain) ประกอบด้วยเทคโนโลยีกับการเพาะปลูก (Farming Tech) เทคโนโลยีกับการแปรรูป (Processing Tech) เทคโนโลยีกับการกระจายสินค้า (Distribution Tech) เทคโนโลยีกับการจัดจำหน่าย (Retail Tech) ยังกล่าวถึงการพัฒนาสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพด้วยเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการแปรรูป การกระจายสินค้า และการจัดจำหน่าย การนำ เทคโนโลยีมาใช้ในการเพาะปลูก มีความแม่นยำสูง เทคโนโลยีสำหรับการประมง (เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ) เทคโนโลยีสำหรับปศุสัตว์ รวมไปถึงแหล่งศึกษาข้อมูลระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์กรมปศุสัตว์ และยังกล่าวถึง ช่องทางดิจิทัลในการจัดจำหน่ายสินค้าเกษตร (Market Channel) สำหรับการเกษตรในยุค 4.0 ทั้งในแบบออฟไลน์ ออนไลน์ เพื่อนำไปสู่การเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ที่จะปรับตัวเพื่อเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์อีกด้วย(Pitch) รูปแบบ องค์ประกอบหลักๆ ในการนำเสนอ ความแตกต่างที่ต่างจากการนำเสนอทั่วไป และตัวอย่างการนำเสนอที่น่าสนใจ เพื่อให้สตาร์ทอัพได้เรียนรู้เพื่อที่จะนำองค์ความรู้ไปพัฒนาธุรกิจสตาร์ทอัพให้ประสบความสำเร็จ เพื่อก้าวไปสู่การเป็นยูนิคอร์นในอนาคตได้

จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 2 ชั่วโมงการเรียนรู้

____________________________________________________________________

LO1 เพื่อให้มีความรู้เรื่องห่วงโซ่ความสัมพันธ์เทคโนโลยีทางด้านการเกษตรและเทคโนโลยีที่นำมาประยุกต์ใช้

LO2 เพื่อให้มีการพัฒนาสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพด้วยเทคโนโลยี (Agri Tech)

LO3 เพื่อให้เรียนรู้ช่องทางดิจิทัลในการจัดจำหน่ายสินค้าเกษตร (Market Channel) เพื่อวิเคราะห์และจัดจำหน่ายสินค้าทางการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

____________________________________________________________________

- ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้เบื้องต้น เเละมีความสนใจทางด้านเทคโนโลยีการเกษตร
- ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้ที่มีความสนใจเทคโนโลยีทางด้านการเกษตร

____________________________________________________________________

ผู้เรียนจะต้องได้คะแนนอย่างน้อย ร้อยละ 70 โดยมีการเก็บคะแนน ดังนี้

- กิจกรรมระหว่างเรียน ร้อยละ 30 - ทดสอบย่อย ร้อยละ 70
____________________________________________________________________


ผศ.ดร.สุภาภรณ์ เกียรติสิน

ผศ.ดร.สุภาภรณ์ เกียรติสิน

หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล


ดร.ปรีสาร รักวาทิน

ดร.ปรีสาร รักวาทิน

ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล


อ. ยุทธพงศ์ อุณหทวีทรัพย์

อ. ยุทธพงศ์ อุณหทวีทรัพย์

อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล

____________________________________________________________________

- ผู้เรียนควรจัดสรรเวลาในการเข้าใช้ระบบ เพื่อศึกษาเนื้อหาและทำกิจกรรมตามโครงสร้างรายวิชา อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง
- การเรียนในภาคปฏิบัติการ ผู้เรียนควรทดลองปฎิบัติตามขั้นตอนการแนะนำ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
Creative commons สัญญาอนุญาตสิทธิ์ “สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”
Enroll