ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

IoT ระบบน้ำอัจฉริยะสำหรับภาคการเกษตร | Let's Start Smart Farm with IoT


DEPA


IoT ระบบน้ำอัจฉริยะสำหรับภาคการเกษตร
Let's Smart Farm with IoT



IoT ระบบน้ำอัจฉริยะสำหรับภาคการเกษตร (Let's Smart Farm with IoT) เน้นการเรียนรู้เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ให้เกษตรกรที่สนใจจะพัฒนาระบบน้ำให้พืชแบบอัตโนมัติ โดยใช้เซ็นเซอร์และหน่วยประมวลผลที่หาซื้อได้ง่าย พร้อมต่อการลงมือปฏิบัติในการเปลี่ยนรูปแบบแปลงเกษตรเดิมของตนเอง ให้มีความอัจฉริยะมากยิ่งขึ้น โดยเริ่มเรียนรู้ตั้งแต่องค์ประกอบของอุปกรณ์ที่จำเป็นจะต้องใช้ในการเปลี่ยนแปลงเกษตรของตนเอง การกำหนดชุดคำสั่งในการสั่งงานอุปกรณ์ การทำงานของระบบ IoT การวางระบบน้ำให้เหมาะสมต่อการให้น้ำแบบอัตโนมัติ การตั้งค่าการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โปรโตคอลในการรับส่งข้อมูล การแจ้งเตือนการทำงานผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่สะดวกและรวดเร็ว การใช้เซ็นเซอร์มาตรฐานอุตสาหกรรมเพื่อความแม่นยำและการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ การระบุตำแหน่งด้วย GPS เพื่อกำหนดจุดในการเก็บข้อมูลและเปรียบเทียบข้อมูลกับภาพภูมิอาการจากฐานข้อมูลภายนอก และการสร้างชุดควบคุมผ่านโทรศัพท์ เพื่อควบคุมอุปกรณ์การให้น้ำอัตโนมัติ ตรวจสอบสถานะการทำงานแบบทันทีทันใด รวมทั้งการเชื่อมโยงสู่เกษตรกรที่มีความต้องการให้ผู้เชี่ยวชาญให้ความรู้ความเข้าใจ หรือเริ่มต้นการทำเกษตรยุคใหม่ได้ผ่านหน่วยงานสนับสนุนของ depa ดังนั้นรายวิชานี้จึงเป็นรายวิชาที่สำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงแปลงเกษตรของตนเองสู่แปลงเกษตรอัจฉริยะ ลดภาระหน้าที่ในการดูแล และเพิ่มประสิทธิผลในการเพาะปลูกพืชได้

____________________________________________________________________


LO1 เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานของหน่วยประมวลผล และการควบคุมอุปกรณ์ผ่านบอร์ด IoT

LO2 เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจวิธีการให้น้ำแบบอัตโนมัติสำหรับภาคการเกษตร

LO3 เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำหลักการและวิธีดำเนินการต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาแปลงเกษตรของตนเอง

LO4 เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำเทคนิค เคล็ดลับไปเพิ่มประสิทธิภาพ ลดภาระหน้าที่การดูแล สร้างผลผลิตให้มากยิ่งขึ้นได้

____________________________________________________________________


- ผู้เรียนมีความตั้งใจในการพัฒนาระบบให้น้ำอัตโนมัติสำหรับแปลงเกษตร ทั้งแปลงเกษตรแบบปิด และแปลงเกษตรแบบเปิด
- ผู้เรียนควรมีอุปกรณ์ดิจิทัล อาทิ บอร์ด ERP32 เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ วัดแสง วัดความชื้น คอมพิวเตอร์ แท็ปเล็ต สมาร์ทโฟน ที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ เพื่อจะได้ทดลองปฏิบัติตามหลักสูตรได้

____________________________________________________________________


ผู้เรียนจะต้องได้คะแนนอย่างน้อย ร้อยละ 70 โดยมีการเก็บคะแนน ดังนี้

- ทดสอบวัดความรู้ (Certificate Examination) ร้อยละ 100

____________________________________________________________________


อ.สว่างพงศ์ หมวดเพชร

อ.สว่างพงศ์ หมวดเพชร

บริษัท โคโมมิ จำกัด

อ.ปริญญา เอกโพธิ์

อ.ปริญญา เอกโพธิ์

บริษัท โคโมมิ จำกัด

อ.นันทิพัฒน์ นาคทอง

อ.นันทิพัฒน์ นาคทอง

INGARAGE Assistive Technology Co.,Ltd

ผศ.ดร.สุภาภรณ์ เกียรติสิน

ผศ.ดร.สุภาภรณ์ เกียรติสิน

หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล

ดร.ปรีสาร รักวาทิน

ดร.ปรีสาร รักวาทิน

ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล

อ. ยุทธพงศ์ อุณหทวีทรัพย์

อ. ยุทธพงศ์ อุณหทวีทรัพย์

อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล

____________________________________________________________________


- ผู้เรียนควรจัดสรรเวลาในการเข้าใช้ระบบ เพื่อศึกษาเนื้อหาและทำกิจกรรมตามโครงสร้างรายวิชา อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง
- การเรียนในภาคปฏิบัติการ ผู้เรียนควรทดลองปฎิบัติตามขั้นตอนการแนะนำ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

Creative commons สัญญาอนุญาตสิทธิ์ “สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”

Enroll