ศึกษาประวัติความเป็นมาและคติความเชื่อในอดีตของว่าวเบอร์อามัส รูปลักษณ์และส่วนต่างๆ ของว่าวเบอร์อามัส การเลือกและจัดเตรียมไม้ไผ่ที่เหมาะสมสำหรับทำว่าวเบอร์อามัส การขึ้นโครงว่าว การแปะกระดาษรองพื้น ความหมายของลวดลายมลายูท้องถิ่น การเขียนลวดลาย การแกะและแปะลวดลายลงบนตัวว่าว การตกแต่งเครื่องทรงของว่าว การติดตั้งแอกว่าว และการผูกสายป่านว่าว
จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 5 ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 1 ชั่วโมง 45 นาที)
1. บอกประวัติความเป็นมาและรูปลักษณ์ของว่าวเบอร์อามัสได้ถูกต้อง
2. อธิบายขั้นตอนวิธีการประดิษฐ์ว่าวเบอร์อามัสได้ถูกต้อง
บุคคลทั่วไปที่สามารถเข้าใจภาษาไทย ตลอดจนสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตเบื้องต้นได้
ผู้เรียนจะต้องมีผลคะแนนรวมทั้งหมดของการทดสอบระหว่างเรียนและทดสอบหลังเรียนไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้
อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหลัก
นายสุทธิศักดิ์ น้ำทิพย์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
วิทยาลัยชุมชนปัตตานี
e-Mail: suthisak.num@pncc.ac.th Tel: 089-7360990
ผู้สาธิตการทำว่าวเบอร์อามัส
นายไวโรจน์ วานิ
ทายาทช่างศิลปหัตกรรม พ.ศ.2560
ทายาทผู้สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำว่าวเบอร์อามัส
Tel: 098-8941202
Creative commons สัญญาอนุญาตสิทธิ์
“สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org)
และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”