|
ด้วยความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นยุคแห่งช้อมูลแบบดิจิตอลนี้ เทคโนโลยีดิจิตอล (Digital Technology) กลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการเสาะแสวงหาและการปฏิสัมพันธ์เพื่อได้มาซึ่งข้อมูล และการเปลี่ยนรูปข้อมูลเพื่อให้สามารถสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน นอกจากนั้นสิ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเทคโนโลยีดิจิตอลสำหรับการจัดการศึกษาในยุคนี้นั้น คือ วิธีการสอน (Pedagogy) ที่เป็นวิธีการที่ใช้เทคโนโลยีดิจิตอลให้มาเป็นเครื่องมือเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างแยบยลและมีประสิทธิภาพ โดยในรายวิชานี้นำเสนอเนื้อหาวิธีการสอนอุบัติใหม่ (Emerging Pedagogy) ที่เกิดขึ้นและเหมาะสมในการนำไปใช้ในการจัดกระบวนการเรียนการสอนทั้งในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษา รวมทั้งสามารถนำไปใช้กับรูปแบบการจัดการศึกษาทั้งแบบในระบบและนอกระบบ ได้แก่ (1) การเรียนรู้แบบกลับด้าน (Flipped Learning) ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการเรียนการสอนแบบ Face-to-face Instruction และ Online-mediated Instruction (2) การเรียนรู้แบบไร้ขอบเขตที่อิงบริบท (Context-aware Ubiquitous Learning) และ (3) การเรียนรู้แบบปรับเหมาะและจำเพาะบุคคลแบบไร้สาย (Adaptive and Personalized Mobile Learning)
|
|
- ผู้เรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบกลับด้าน (Flipped Learning) ทั้งในแบบ Face-to-face Instruction และ Online-mediated Instruction
- ผู้เรียนรู้จักและสามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือเทคโนโลยีดิจิตอลสำหรับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบกลับด้าน
- ผู้เรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบไร้ขอบเขตที่อิงบริบท (Context-aware Ubiquitous Learning)
- ผู้เรียนรู้จักและสามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือเทคโนโลยีดิจิตอลสำหรับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบไร้ขอบเขตที่อิงบริบท
- ผู้เรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้แบบปรับเหมาะและจำเพาะบุคคลแบบไร้สาย (Adaptive and Personalized Mobile Learning)
- ผู้เรียนรู้จักและสามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือเทคโนโลยีดิจิตอลสำหรับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปรับเหมาะและจำเพาะบุคคลแบบไร้สาย
|
|
นิสิต/นักศึกษาครู ครู/อาจารย์ นักการศึกษา/บุคลากรทางการศึกษา และผู้สนใจทั่วไป
|
|
- เข้าเรียนครบทุกหน่วยการเรียน
- ทำภารกิจการเรียนรู้ครบทุกหน่วยการเรียน
- มีคะแนนทดสอบหลังเรียน >= 60%
|
|
|
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์
(Asst.Prof.Dr.Niwat Srisawasdi) |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ติดต่ออาจารย์ประจำวิชา: niwsri@kku.ac.th |
|
|
รองศาสตราจารย์ ดร. อิศรา ก้านจักร
(Asst.Prof.Dr.Issara Kanjug) |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ติดต่ออาจารย์ประจำวิชา: issaraka@kku.ac.th |
|
|
รองศาสตราจารย์ ดร. พัชรินทร์ ปัญจบุรี
(Asst.Prof.Dr.Patcharin Panjaburee) |
สถาบันการนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ติดต่ออาจารย์ประจำวิชา: ilti@kku.ac.th |
|
|
|
ผู้เรียนควรมีเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
|
Creative Common แสดงสัญญาอนุญาตสิทธิ์ CC BY NC SA
"สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org)
และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์
แบบ Creative Common ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA"
|