ผู้สอน
ผศ.ดร.ณัฐกร สงคราม
อาจารย์จากสาขาวิชานิเทศศาสตร์เกษตร ภาควิชาพัฒนาการเกษตรและการจัดการทรัพยากร
คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
รายวิชานี้ได้ ปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเป็น
"การเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced)"
แนวความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการพูดและการนำเสนอ รูปแบบของการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประกอบการพูดและการนำเสนอ กระบวนการผลิตสื่อคอมพิวเตอร์เพื่อการพูดและการนำเสนอ หลักการออกแบบและใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการพูดและการนำเสนอ วัสดุและอุปกรณ์ประกอบการพูดและการนำเสนอ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างชิ้นงานประกอบการพูดและการนำเสนอ
จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 6 ชั่วโมงการเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 2 ชั่วโมง)
1. ผู้เรียนเกิดจิตสำนึกและตระหนักในจรรยาบรรณของการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการพูดและการนำเสนอ
2. ผู้เรียนเข้าใจหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการพูดและการนำเสนอ
3. ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์และออกแบบสื่อคอมพิวเตอร์ประกอบการพูดและการนำเสนอตามเงื่อนไขที่กำหนด
4. ผู้เรียนสามารถผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ประกอบการพูดและการนำเสนอตามบทบาทที่ได้รับมอบหมายของตนเองและทำงานร่วมกับผู้อื่น
5. ผู้เรียนเข้าถึงและคัดเลือกแหล่งข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการพูดและการนำเสนอ
นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไปที่สนใจการใช้คอมพิวเตอร์ประกอบการพูดและการนำเสนอสามารถเรียนรู้เนื้อหาได้
1) ผู้เรียนเข้าเรียนเนื้อหาครบทุก Unit
2) ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน แบบฝึกหัด/ใบงาน ได้ 60 คะแนนขึ้นไป
หมายเหตุ : เมื่อผู้เรียนทำคะแนนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ระบบจะแสดงใบประกาศนียบัตร (Certificate) ให้อัตโนมัติในแถบเมนู Progress ซึ่งผู้เรียนสามารถ Save หรือสั่งพิมพ์ได้ด้วยตนเอง
ผศ.ดร.ณัฐกร สงคราม
อาจารย์จากสาขาวิชานิเทศศาสตร์เกษตร ภาควิชาพัฒนาการเกษตรและการจัดการทรัพยากร
คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ดร.กุลชัย กุลตวนิช
อาจารย์จากสาขาวิชานิเทศศาสตร์เกษตร ภาควิชาพัฒนาการเกษตรและการจัดการทรัพยากร
คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
นายประพัฒน์ อธิปัญจพงษ์
ภาควิชาพัฒนาการเกษตรและการจัดการทรัพยากร
คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
“สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”