ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

หลักเศรษฐศาสตร์เกษตร | Principles of Agricultural Economics


KMITL
ปิดการลงทะเบียนแล้ว

thaimooc.ac.th


รายวิชาเรียนตาม อัธยาศัย

รายวิชานี้ได้ ปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเป็น

"การเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced)"

คำอธิบายรายวิชา

   ความรู้ทั่วไปและความรู้เบื้องต้นทางเศรษฐศาสตร์เกษตรในมุมมองทั้งระดับมหาภาคและจุลภาค ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์เกษตรสำหรับภาคการเกษตรในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ ดุลยภาพและการแทรกแซงราคาดุลยภาพโดยรัฐบาล ต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์สินค้าเกษตร ลักษณะของตลาดสินค้าการเกษตร นโยบายและมาตรการทางการเกษตร การค้าขายสินค้าเกษตรในไทยและต่างประเทศ

จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 6 ชั่วโมงการเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 2 ชั่วโมง)

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

   1. ผู้เรียนเกิดจิตสำนึกและตระหนักถึงจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจการเกษตร

   2. ผู้เรียนเข้าใจถึงทฤษฎีและหลักทางเศรษฐศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับสินค้าเกษตร

   3. ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์สถานการณ์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาสินค้าเกษตรโดยใช้หลักการทางเศษฐศาสตร์เกษตร

   4. ผู้เรียนสามารถร่วมแสดงความคิดเห็นและอภิปรายประเด็นที่ผู้อื่นนำเสนอ

   5. ผู้เรียนสามารถสืบค้นแหล่งข้อมูลข่าวสารทางการเกษตรและเข้าถึงแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อนำมาใช้ในกิจกรรมการเรียน

คุณสมบัติผู้เรียน

   นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไปที่สนใจเศรษฐศาสตร์เกษตรสามารถเรียนรู้เนื้อหาได้

เกณฑ์การผ่านการเรียนรู้

   1) ผู้เรียนเข้าเรียนเนื้อหาครบทุก Unit

   2) ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน แบบฝึกหัด/ใบงาน ได้ 60 คะแนนขึ้นไป

หมายเหตุ : เมื่อผู้เรียนทำคะแนนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ระบบจะแสดงใบประกาศนียบัตร (Certificate) ให้อัตโนมัติในแถบเมนู Progress ซึ่งผู้เรียนสามารถ Save หรือสั่งพิมพ์ได้ด้วยตนเอง

ทีมผู้สอนและพัฒนา MOOC

Course Staff Image #1

ผู้สอน

ดร.สุณีพร สุวรรณมณีพงศ์
อาจารย์จากสาขาวิชาพัฒนาการเกษตร ภาควิชาพัฒนาการเกษตรและการจัดการทรัพยากร
คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

Course Staff Image #1

ผู้ช่วยสอน

ศศิมา ฟักคง
ภาควิชาพัฒนาการเกษตรและการจัดการทรัพยากร
คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

cc

Creative common สัญญาอนุญาตสิทธิ์

“สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”