ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เทคโนโลยีระบบรางและการจัดการการขนส่ง | Railway Technology and Transportation Management


KMUTT

รายวิชานี้ได้ปรับเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced Learning)

เกี่ยวกับรายวิชา

            การศึกษาวิวัฒนาการของการขนส่งทางราง ความจำเป็นของระบบการขนส่งทางรางที่มีผลต่อการคมนาคม ระบบการขนส่งทางรางสาธารณะ การพัฒนาระบบขนส่งทางรางของประเทศไทยและอาเซียน รูปแบบการบริหารจัดการระบบขนส่งทางรางของประเทศไทย ประเภทของรถไฟ เทคโนโลยีรถไฟในต่างประเทศ องค์ประกอบหลักของรถไฟ ทางรถไฟ ขนาดและมาตรฐานของทางรถไฟ รูปแบบโครงสร้างของทางรถไฟ การซ่อมบำรุงทางรถไฟ การซ่อมบำรุงตัวรถไฟและองค์ประกอบ การจัดการสถานี การตรวจสอบในระบบราง

จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 16 ชั่วโมงการเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 5 ชั่วโมง 36 นาที)

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

  • LO1 : ผู้เรียนสามารถบอกวิวัฒนาการ ความเป็นมา และระบบการขนส่งแบบต่างๆ ได้
  • LO2 : ผู้เรียนสามารถอธิบายความสำคัญของระบบการขนส่งทางรางที่มีต่อการพัฒนาประเทศในภาพรวมได้
  • LO3 : ผู้เรียนสามารถจำแนกประเภทรถไฟ ระบบการขับเคลื่อน และองค์ประกอบของรถไฟในรูปแบบต่าง ๆ ได้
  • LO4 : ผู้เรียนสามารถอธิบายความหมาย หน้าที่ โครงสร้าง และส่วนประกอบของทางรถไฟได้
  • LO5 : ผู้เรียนสามารถสรุปแนวทางการพัฒนา และการบริหารจัดการระบบการขนส่งทางรางของประเทศไทยและประเทศในกลุ่มอาเซียนได้

คุณสมบัติของผู้เรียน

  • นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและระดับอาชีวศึกษา
  • นิสิตและนักศึกษาระดับปริญญาตรี
  • ผู้ที่สนใจและประชาชนทั่วไป

เกณฑ์การวัดผลของรายวิชา

  1. การประเมินผลระหว่างเรียน (Formative Assessment) วัดจากการทำแบบทดสอบหลังเรียนประจำโมดูลการเรียนรู้ในแต่ละสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 60
  2. การประเมินผลหลังสิ้นสุดการเรียนการสอน (Summative Assessment) วัดจากการทำแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คิดเป็นร้อยละ 40
  3. การตัดสินให้ผ่าน (Pass) และการให้ประกาศนียบัตร (Certificate) เมื่อผู้เรียนได้คะแนนรวมทั้งหมด ตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป โดยระบบจะแสดงใบประกาศนียบัตรให้อัตโนมัติในแถบเมนู Progress ซึ่งผู้เรียนสามารถ Save หรือสั่งพิมพ์ได้ด้วยตนเอง ดังนั้นผู้เรียนจึงควรเข้าเรียนและทำกิจกรรมการเรียนรู้ให้ครบทุกโมดูลการเรียนรู้

อาจารย์ผู้สอน

Course Staff Image #1

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิติเดช สันติชัยอนันต์

ภาควิชาครุศาสตร์โยธา
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

Course Staff Image #2

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มงคล นามลักษณ์

ภาควิชาครุศาสตร์โยธา
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

Course Staff Image #3

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มานนท์ สุขละมัย

ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ผู้ช่วยดูแลระบบ

Course Staff Image #1

นายวิษณุ นิตยธรรมกุล

นักศึกษาปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

Course Staff Image #2

นายภรัณยู อรสุทธิกุล

นักศึกษาปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

Course Staff Image #3

นางสาวเมธาวี อำนวยวุฒิโรจน์

นักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 สาขาเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชน
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คำแนะนำสำหรับผู้เรียน

            ผู้เรียนควรมีอุปกรณ์ต่าง ๆ (Devices) อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ โน้ตบุ๊ค แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟน ที่มีความละเอียดของหน้าจอ (Resolution) ไม่ต่ำกว่า 1024 x 768 Pixel โดยอุปกรณ์ต่าง ๆ จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (High Speed Internet) ที่มีความเร็วไม่น้อยกว่า 512 Kbps โดยผู้เรียนสามารถเข้าถึงบทเรียนได้ทุกระบบปฏิบัติการ (Operating System) ผ่านเว็บเบราเซอร์ (Web Browser)

 

Enroll