อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหลัก
ดร.นนท์ ทองโปร่ง
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
รายวิชานี้ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ หลักการและวิธีการเขียนโปรแกรมภาษาไพธอนเพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างชุดคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ตามต้องการในเบื้องต้นและต่อยอดไปพัฒนาเป็นชุดคำสั่งที่ซับซ้อนขึ้นได้ในอนาคต รายวิชานี้จะปูพื้นฐานที่สำคัญให้กับผู้เริ่มต้นเรียนรู้ ตั้งแต่การแนะนำและติดตั้งซอฟต์แวร์ที่จำเป็น ประเภทของข้อมูลในภาษาไพธอน ตัวดำเนินการและฟังก์ชันพื้นฐานต่าง ๆ การสร้างฟังก์ชันเฉพาะที่ระบุโดยผู้ใช้ การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุอย่างง่าย ไปจนถึงการเรียกใช้คลังของชุดคำสั่งที่สำคัญ ๆ เช่น NumPy, Pandas, Seaborn และ Matplotlib เพื่อให้ผู้เรียนสามารถดำเนินการทางคณิตศาสตร์ จัดการชุดข้อมูลจำนวนมาก พลอตกราฟอย่างง่ายและใช้แผนภูมิประเภทต่าง ๆ เพื่อนำเสนอข้อมูลได้
จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 15 ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 10 ชั่วโมง 21 นาที)
LO 1 ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้หลักการและวิธีการเขียนโปรแกรมในภาษาไพธอนเพื่อพัฒนาชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์ได้
LO 2 ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้คลังของชุดคำสั่ง NumPy เพื่อจัดการกับข้อมูลจำนวนมากที่เรียงลำดับกันหรือตัวแปรประเภท array ได้
LO 3 ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้คลังของชุดคำสั่ง Pandas ในการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากที่อยู่ในลักษณะของตารางข้อมูลได้
LO 4 ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้คลังของชุดคำสั่ง Matplotlib และ Seaborn เพื่อสร้างกราฟและแผนภูมิเพื่อแสดงข้อมูลแต่ละประเภทได้อย่างเหมาะสม
นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ทุกเพศ ทุกวัย ที่สนใจสามารถเรียนได้
แบบทดสอบก่อนเรียน 0% แบบทดสอบระหว่างเรียนทุกบท 60% กิจกรรม Discussion (ไม่เก็บคะแนน) แบบทดสอบหลังเรียน (Final Exam) 40%
ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้
ดร.นนท์ ทองโปร่ง
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ผศ.ดร.ธนา สุทธิบัทม์พงศ์
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ดร.ธีรสิทธิ์ เติมสายทอง
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
“สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org)
และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”