รายวิชานี้ได้ปรับเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced Learning)
จำนวนชั่วโมงเรียนทั้งหมด : 45 ชั่วโมงเรียนรู้ (15 ชั่วโมง 45 นาทีสื่อวีดิทัศน์)
เวกเตอร์ในปริภูมิสามมิติ พื้นผิวกำลังสองในสามมิติ อนุพันธ์ย่อย ปริพันธ์หลายชั้น และแคลคูลัสของฟังก์ชันเวกเตอร์
LO1 : อธิบายความรู้เรื่องเวกเตอร์ในปริภูมิสามมิติ พื้นผิวกำลังสองในสามมิติ อนุพันธ์ย่อย ปริพันธ์หลายชั้น แคลคูลัสของฟังก์ชันเวกเตอร์ ได้
LO2 : วิเคราะห์และแก้โจทย์ปัญหาเรื่องเวกเตอร์ในปริภูมิสามมิติ พื้นผิวกำลังสองในสามมิติ อนุพันธ์ย่อย ปริพันธ์หลายชั้น แคลคูลัสของฟังก์ชันเวกเตอร์ ได้
LO3 : นำความรู้เรื่องเวกเตอร์ในปริภูมิสามมิติ พื้นผิวกำลังสองในสามมิติ อนุพันธ์ย่อย ปริพันธ์หลายชั้น แคลคูลัสของฟังก์ชันเวกเตอร์ ไปประยุกต์ใช้กับโจทย์ปัญหาในสาขาอื่น ได้
คณิตศาสตร์วิศวกรรม I
รองศาสตราจารย์ นงนุช สุขวารีภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
|
ผู้ช่วยศาสราจารย์ พัชรี หิรัญมาศสุวรรณภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
|
ผู้ช่วยศาสราจารย์ พิมพ์ชนา ศิริจารุอนันต์ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
|
ผู้ช่วยศาสราจารย์ กันย์ สุ่นยี่ขันภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
|
อาจารย์ สุรีรัตน์ อารีรักษ์สกุล ก้องโลกสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
• ก่อนเรียนแต่ละบทผู้เรียนต้องทำแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อให้ทราบพื้นฐานของตนเองและได้ทราบเนื้อหาที่จะเรียน
• ผู้เรียนควรเข้าศึกษาเนื้อหาบทเรียนจากระบบ MOOC ให้ครบทุกเนื้อหา เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับตนเอง
• ผู้เรียนควรแบ่งเวลาสำหรับการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และทบทวนเนื้อหาอย่างน้อยบทละ 2 – 3 ชั่วโมง
• ผู้เรียนควรเข้าเรียนรู้บทเรียนจากระบบ MOOC ร่วมกับช่องทางอื่น โดยมีการนำความรู้ในแต่ละเรื่องไปฝึกฝนแก้โจทย์ปัญหาในรูปแบบต่าง ๆ
ปริญญาตรี / เป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตร วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต/คณิตศาสตร์วิศวกรรม II รหัสวิชา 01417168
เรียนด้วยตนเอง
กลาง
1. นักเรียนระดับมัธยมปลาย
2. นักศึกษาระดับปริญญาตรี
3. ประชาชนทั่วไป
1. หนังสือ
คณิตศาสตร์วิศวกรรม II ของภาควิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2. ข้อมูลเว็บไซต์ https://course.ku.ac.th/
"รายวิชานี้มีการออกประกาศนียบัตรผ่านระบบ" เมื่อผู้เรียนได้รับผลการเรียนว่าผ่าน ต้องได้คะแนนรวมไม่น้อยกว่า 50% โดยมีรายละเอียดการเก็บคะแนน ดังต่อไปนี้
• คะแนนแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน 5 บท จำนวน 5 ชุด คิดเป็น 30%
• คะแนนแบบทดสอบหลังเรียนทุกบท จำนวน 5 ชุด คิดเป็น 40%
• คะแนนแบบทดสอบรวมหลังเรียน จำนวน 20 ข้อ คิดเป็น 30%
Creative common สัญญาอนุญาตสิทธิ์
“สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”