ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดและประเมินผล | Validation of Measurement and Evaluation Tools


KU

คำอธิบายรายวิชา

แนวคิดและจุดมุ่งหมายของการวัดและประเมินผล การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยการหาค่าความเที่ยงตรง ค่าความเชื่อมั่น ค่าอำนาจจำแนก และค่าความยากง่ายของเครื่องมือวัดและประเมินผล

จำนวนชั่วโมงเรียนรู้

จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 15 ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 5 ชั่วโมง 15 นาที)

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

1. ผู้เรียนสามารถอธิบาย แนวคิดและจุดมุ่งหมายของการวัดและประเมินผลได้

2. ผู้เรียนสามารถหาค่าความเที่ยงตรงของเครื่องมือวัดและประเมินผลได้

3. ผู้เรียนสามารถหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือวัดและประเมินผลได้

4. ผู้เรียนสามารถหาค่าความยากง่ายของเครื่องมือวัดและประเมินผลได้

5. ผู้เรียนสามารถหาค่าอำนาจจำแนกของเครื่องมือวัดและประเมินผลได้

คุณสมบัติผู้เรียน

นิสิตปริญญาตรีที่กำลังเรียนวิชาการวัดและประเมินผลและวิชาวิจัย นิสิตนักศึกษาปริญญาโท และนิสิตปริญญาเอกที่ต้องการทบทวนการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดและประเมินผล รวมทั้งนักวิชาการทางการศึกษา และนักวิจัย

เกณฑ์การวัดผล

- แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-Test) : ไม่เก็บคะแนน
- กิจกรรมในบทเรียน (Assignment) : เก็บคะแนน 25%
- แบบทดสอบระหว่างบทเรียน (Quiz) : เก็บคะแนน 25%
- แบบทดสอบท้ายรายวิชา (Final Exam) : เก็บคะแนน 50%

ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้

ทีมผู้รับผิดชอบรายวิชา MOOC

Course Staff Image #1

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหลัก

ผศ.ดร.สิทธิกร สุมาลี
ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Course Staff Image #2

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาร่วม

รศ.ดร.มธุรส จงชัยกิจ
ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ช่องทางติดต่อทีมผู้สอน

e-Mail: fedustk@ku.ac.th
เบอร์: 02-579-7114

cc

Creative commons สัญญาอนุญาตสิทธิ์

“สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org)
และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”

Enroll