ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์แบบสะเต็มศึกษา | STEM Based Learning for Science


MU

รายวิชาเรียนตามอัธยาศัย

รายวิชานี้ได้ปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเป็น

"การเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced)"


 
  • คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
 หลักสูตร
  • STEM

 
  • การจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์แบบสะเต็มศึกษา
  • STEM Based Learning for Science 

 
  • ความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับสะเต็มศึกษา (STEM EDUCATION) ปรัชญาและการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์แบบสะเต็มศึกษา ความแตกต่างระหว่างการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์แบบดั้งเดิมกับการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์แบบสะเต็มศึกษา การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์แบบสะเต็มศึกษา การสร้างแผนการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์แบบสะเต็มศึกษา การสร้างแบบวัดประเมินผลการเรียนรู้ และการให้ข้อมูลย้อนกลับ (feedback) สำหรับการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์แบบสะเต็มศึกษา

ดังนั้นเนื้อหาสาระรายวิชาโดยสังเขปจึงประกอบด้วย
  1. ความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับ STEM คืออะไร สำคัญ อย่างไร
  2. หลักปรัชญาและหลักการการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ตามแนวทางที่ใช้สะเต็มเป็นฐาน
  3. การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวทางที่ใช้สะเต็มเป็นฐาน
  4. การสร้างแผนการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทางที่ใช้สะเต็มเป็นฐาน
  5. การสร้างแบบวัดประเมินผลการเรียนรู้ และการให้ feedback สำหรับการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวทางที่ใช้สะเต็มเป็นฐาน
  6. การวิเคราะห์เปรียบเทียบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแบบที่มักใช้กัน(Conventional) ที่เน้นการบรรยายกับแบบตามแนวทางที่ใช้สะเต็มเป็นฐาน (STEM)
  1. บอกความหมายและความสำคัญของการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา
  2. อธิบายหลักการการจัดการเรียนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวทางสะเต็มศึกษา
  3. ยกตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสะเต็มศึกษา
  4. วิเคราะห์และออกแบบแผนการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทางที่ใช้สะเต็มเป็นฐาน
  5. ประยุกต์ใช้ STEM เพื่อบูรณการกับเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่พบในชีวิตประจำวันเพื่อการเรียนการสอน
  6. สร้างแบบวัดประเมินผลการเรียนรู้ สำหรับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทางที่ใช้สะเต็มเป็นฐาน
  • จำนวนชั่วโมงเรียนทั้งหมด   : 8 ชั่วโมงการเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 2 ชั่วโมง 48 นาที)
  • จำนวนหน่วยกิตของรายวิชาในหลักสูตรปกติ   : ไม่มี
  • จำนวนชั่วโมงที่จัดการเรียนรู้ต่อสัปดาห์/ต่อครั้ง  :  1 ชั่วโมง ต่อครั้ง 1-2 ครั้ง ต่อ สัปดาห์
  • การนำผลการเรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ : เนื้อหาเรียนตามอัธยาศัย
  • ระดับของเนื้อหารายวิชา : ปริญญาตรี/ครู/เรียนตามอัธยาศัย
  • ระดับความยากของเนื้อหารายวิชา : เบื้องต้น ถึง กลาง
  • ความรู้พื้นฐานที่ควรมีมาก่อน : วิทยาศาสตร์ และ คณิตศาสตร์ พื้นฐานระดับประถม หรือ มัธยม
  • ประเภทการเรียนในรายวิชา : เรียนด้วยตนเอง
  • กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ : ครู อาจารย์ ผู้บริหารการศึกษา ศึกษานิเทศน์ หรือประชาชนทั่วไปที่สนใจนำไป ประยุกต์ใช้สร้างกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ
 
 
ศ. ดร. วรรณพงษ์ เตรียมโพธิ์
(Assoc.Prof.Wannapong Triampo, Ph.D.)

Deputy Dean for Educational Services of Salaya Campus &
International BSc Program Coordinator

E-Mail: wannapong.tri@mahidol.ac.th

website:
http://salaya.sc.mahidol.ac.thth/

http://www.sc.mahidol.ac.th/sim/

Professional Learning Community 
Biophysics Research Unit
R&D Unit for STEM Education
___________________________________________________________________________

 
 
อ. ดร. อาทร นกแก้ว
( Lect. Artorn Nokkaew, Ph.D.)

 อาจารย์ประจำสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล

Curriculum Vitae

________________________________________________________________________

 
  • อ.ดร.ปรัชญพงศ์ ยาศรี(Lect. Pratchayapong Yasri, Ph.D.)
  • อ.ดร. มนต์อมร ปรีชารัตน์(Lect. Monamorn Precharattana, Ph.D.)

หนังสือและตำรา

  • หนังสือสะเต็ม โดย รศ. ดร. วรรณพงษ์ เตรียมโพธิ์ และ อ. ดร. อาทร นกแก้ว
    เอกสารประกอบการบรรยาย
  • เอกสารประกอบการบรรยายและอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง สะเต็ม (STEM) (free download http://www.ilearnsci.com/ )

เว็บไซต์

สะเต็มศึกษา STEM education การศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพและมีประสิทธิภาพศูงสุดและมุ่งส่งเสริมทักษะชีวิตและทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 โดยเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการบูรณาการของศาสตร์หลัก คือ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และ เทคโนโลยี และส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ระหว่างศาสตร์ต่างๆ สามารถเข้าใจการนำไปใช้ อาชีพ และปรากฏการณ์ที่พบในชีวิตประจำวัน

lesson plan แผนการจัดการเรียนรู้

assessment เป็นการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่มุ่งเก็บรวบรวมข้อมูลสารสนเทศทั้งชิงปริมาณ และเชิงบรรยายอย่างเป็นระบบ แล้วนำข้อมูลสารสนเทศที่รวบรวมได้มาเรียบเรียงเพื่อใช้ในการปรับและพัฒนาการจัดการเรียนรู้

pedagogy ศาสตร์และศิลป์ในการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนนักศึกษา


การวัดประเมินผลการเรียนรู้ พิจารณาจาก 3 ด้าน

  1. ความรับผิดชอบในการเข้าเรียนรู้บทเรียนจาก MOOC และการมีส่วนร่วม
  • การเข้าชั้นเรียนและพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมในชั้นเรียน 30%

   2. ความรู้ (Knowledge) ตามมาตรฐานกำหนด

  • แบบทดสอบ 30%

   3. ทักษะด้านปัญญา (Cognitive skills)

  • แบบทดสอบ 40%

หมายเหตุ
% รวมที่แสดงใน ตาราง โครงสร้างเนื้อหา และแผนการจัดการเรียนรู้ รวมจึงเป็น 70% (เวลาเข้าเรียน 30%)
ผู้เรียนจะได้รับผลการเรียนว่าผ่าน ต้องเข้าเรียนครบทุกบทเรียนจำนวน 8 ชั่วโมงและได้ผลการสอบ(ด้าน 2 และ 3)ตั้งแต่ครึ่งหนึ่งขึ้นไป
6 คำแนะนำในการเรียนรู้

  • ควรเรียนรู้จาก MOOC ร่วมกับ ช่องทางการเรียนรู้อื่น โดยมีการนำความรู้ความเข้าใจไปทดลองใช้ เช่น จัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม STEM based learning
  • เน้นการเรียนรู้แบบการมีส่วนร่วม และ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน และผู้สอน share & learn
W e l c o m e T o S T E M
รศ.ดร.วรรณพงษ์ เตรียมโพธิ์  ชื่อ ชื่อ ชื่อ ชื่อ

"สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”
Enroll