ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การวิเคราะห์และตรวจสอบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กในกรณีภัยพิบัติ | Reinforced Concrete for Earthquake Disaster Evaluation


MU

การวิเคราะห์และตรวจสอบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กในกรณีภัยพิบัติ

Reinforced Concrete for Earthquake Disaster Evaluation 

รายวิชานี้ได้ปรับเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced Learning)

เกี่ยวกับรายวิชา

พฤติกรรมพื้นฐานของคอนกรีตเสริมเหล็กในการรับแรงอัด แรงดัด แรงเฉือน หลักการเบื้องต้นในการออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธีกำลัง และการสังเกตุอาคารที่มีลักษณะเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายเนื่องมาจากแผ่นดินไหว

เน้นให้นักศึกษารู้จักการนำเอาหลักการทฤษฏี หรือวิธีการทางด้านคณิตศาสตร์ และพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางด้านการออกแบบ พิจารณา และ ประเมินโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กในพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว ได้อย่างเหมาะสม

จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 10 ชั่วโมงการเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 3 ชั่วโมง 30 นาที)

กลุ่มเป้าหมาย...

โดยวิชานี้เหมาะสำหรับ นิสิต นักศึกษา ช่างก่อสร้าง และประชาชนทั่วไป ที่มีความสนใจเกี่ยวกับการก่อสร้างและการประเมินโครงสร้างเบื้องต้นทั้งก่อนและหลังเหตุการณ์ภัยพิบัติ

ทีมอาจารย์ผู้พัฒนารายวิชา

Course Staff Image #1

ดร.ธีรพันธ์ อรธรรมรัตน์

Ph.D. (Earthquake Engineering and Engineering Seismology) ROSE School, ITALY
M.Sc. (Earthquake Engineering and Engineering Seismology) ROSE School, ITALY and Universite Joseph Fourier, FRANCE
B.Eng. (Civil Engineering) Sirindhorn International Institute of Technology, THAILAND
E-mail : teraphan.orn@mahidol.ac.th

Course Staff Image #2

SUPAKORN HANSAWANGKIT

B.Eng. (Civil Engineering) Mahidol University, THAILAND

เป้าหมายการเรียนรู้

1. ตระหนักถึงความสำคัญของส่วนประกอบของคอนกรีตเสริมเหล็กและสามารถนำไปสู่การประเมินโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กเบื้องต้นได้
2. สามารถสังเกตุข้อมูลความเสี่ยงในอาคารที่พบเห็นที่สำคัญ ได้แก่ ขนาดหน้าตัดเสา ตำแหน่งการวางเหล็ก รูปแบบอาคาร ได้อย่างถูกต้อง
3. วิเคราะห์สภาพการเสียหายของโครงสร้างได้จากการประเมินเบื้องต้น
4. สามารถประยุกต์ความรู้ที่ได้จากการประเมินเบื้องต้นเพื่อคัดแยกอาคารที่มีลักษณะเสียหายรุนแรงได้

ความรู้เบื้องต้นที่จำเป็น

กลศาสตร์วัสดุ, การวิเคราะห์โครงสร้าง 1

คำถามพบบ่อย

นักศึกษาวิศวกรรมโยธาจำเป็นต้องเรียนทุกคนหรือไม่?

จำเป็นสำหรับนักเรียนที่ลงรายวิชา EGCE313 (รายวิชาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล) เนื่องจาก บทเรียนออนไลน์จะถูกนำมาคิดเป็นส่วนหนึ่งในคะแนนของการสอบผ่านในรายวิชา EGCE 313

แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ (ระบุเอกสาร ตำรา เว็บไซต์ ฯลฯ)

- วินิต ช่อวิเชียร, การออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีกำลัง, 2540: ป.สัมพันธ์พาณิชย์.
- มาตรฐาน วสท 1008-38 มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีกำลัง
- MacGregor, J.G., REINFORCED CONCRETE: Mechanics and Design, ed. 3. 1997, London: Prentice-Hall International.

การวัดประเมินผล เกณฑ์การให้คะแนน การผ่าน/ไม่ผ่านและใบประกาศนียบัตร (หากมี)

ประเมินผลการเรียนรู้โดยใช้คำถามท้ายบทเรียน มีคะแนนรวมทุกแบบทดสอบมากกว่า 50 %

"สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA"

Enroll