ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ภัยพิบัติใกล้ตัว | Disasters Everywhere


MU

รายวิชานี้ได้ปรับเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced Learning)

คำอธิบายรายวิชา

ผู้เรียนจะได้เรียนรู้และเข้าใจกระบวนการเกิดและอันตรายจากภัยพิบัติธรรมชาติ ได้แก่ แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด สึนามิ โคลนถล่ม พายุ น้ำถ่วมและน้ำแล้ง เอลนิโญ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนการปฏิบัติตัวตามหลักที่ถูกต้อง ทั้งก่อน ขณะเกิด หรือหลังเกิดภัยพิบัติตามธรรมชาติ เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนรับมือ หลบหลีก หรือ บรรเทาความรุนแรงของเหตุการณ์ฉุกเฉินและลดความสูญเสีย จากภัยพิบัติในชีวิตประจำวัน อีกทั้งยังเป็นแนวทางนำไปใช้ในการพัฒนาวิชาชีพต่อไป

จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 8 ชั่วโมงการเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 2 ชั่วโมง 48 นาที)

วัตถุประสงค์รายวิชา

1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจทฤษฏีกระบวนการเกิด ลักษณะของภัยพิบัติธรรมชาติ ประเภทต่างๆ และผลกระทบต่อมนุษย์

2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติตนอย่างถูกต้องในขณะเกิดเหตุภัยพิบัติธรรมชาติ

3. ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์และอธิบายสาเหตุการเกิดภัยพิบัติธรรมชาติจากกรณีศึกษาที่กำหนดได้

ความรู้พื้นฐานที่ควรมี

การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

ทีมผู้สอน

อาจารย์ประจำวิชา

อาจารย์ประจำวิชา

ดร.ปริชาติ เวชยนต์
อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ
มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี

E-mail: parichat.wet@mahidol.ac.th

ผู้ช่วยสอน

ผู้ช่วยสอนในวีดีโอ

นายธนากร เหล่าธนะกิจไพศาล
นักศึกษาปีที่ 4 หลักสูตรธรณีศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี

ผู้ช่วยสอน

ผู้ช่วยสอนในระบบออนไลน์

นางสาว วสุพร ภู่พัฒน์วิบูลย์
นักศึกษาปีที่ 4 หลักสูตรธรณีศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี

แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ (ระบุเอกสาร ตำรา เว็บไซต์ ฯลฯ)

- ระบบเฝ้าระวัง ติดตามและพยากรณ์ กรมอุตุนิยมวิทยา เว็บไซต์ http://www.metalarm.tmd.go.th/

- ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เว็บไซต์ http://www.ndwc.go.th/web/index.php

- สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา เว็บไซต์ http://www.seismology.tmd.go.th/home.html

- Japan Meteorological Agency เว็บไซต์ http://www.jma.go.jp

- Hazard and Diasaster Journal available on website: http://www.journals.elsevier.com/international-journal-of-disaster-risk-reduction/

- Patrick L. A., Natural Disasters, 8th edition, New York, McGraw-Hill, 2012

นโยบายการวัดประเมินผล เกณฑ์การให้คะแนน การผ่าน/ไม่ผ่าน และใบประกาศนียบัตร (หากมี)

- สัดส่วนคะแนนในการประเมินผล :
กิจกรรม (5 ครั้ง) 5%
แบบฝึกหัด (7 ครั้ง) 13%
อภิปรายและการบ้าน (2 ครั้ง) 10%
สอบย่อย (4 ครั้ง) 12%
สอบกลางภาค (1 ครั้ง) 30%
สอบปลายภาค (1 ครั้ง) 30%
-เกณฑ์การวัดผลและประเมินผลสัมฤทธิ์ในการศึกษา มีคะแนนเท่ากับหรือมากกว่า 60% ขึ้นไป

แนะนำการใช้งานห้องเรียนออนไลน์

แนะนำบราวเซอร์ที่เหมาะสมกับการใช้งาน

แพลตฟอร์ม Open edX สามารถใช้งานผ่านบราวเซอร์เวอร์ชั่นรุ่นล่าสุดของโครม (Chrome) ไฟร์ฟ๊อกซ์ (Firefox) ซาฟารี (Safari) หรือ อินเตอร์เน็ตเอ็กซ์โพลเรอร์เวอร์ชั่น 9 หรือสูงกว่า

“สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”

Enroll