ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ประวัติและตรวจร่างกาย…ใครคิดว่าไม่สำคัญ?| History Interview and Physical Examination for Emergency Personal


MU-MOOC

รายวิชาเรียนตามอัธยาศัย

รายวิชานี้ได้ปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเป็น

"การเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced)"


ประวัติและตรวจร่างกาย…ใครคิดว่าไม่สำคัญ?

History Interview and Physical Examination for Emergency Personal

เกี่ยวกับรายวิชา

การซักประวัติและการตรวจร่ายกายเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญของบุคลากรฉุกเฉินทางการแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาก่อนถึงโรงพยาบาลเฉินได้อย่างทันท่วงที

ขั้นตอนการซักประวัติและตรวจร่างกายตามระบบต่าง ๆ ของร่างกายจะได้รับการรวบรวม และสาธิตในรายวิชานี้ เพื่อให้ บุคลากรฉุกเฉินการแพทย์มีทักษะและช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที

คุณสมบัติผู้เรียน

นักศึกษาระดับปริญญาตรี ประชาชนทั่วไป และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะบุคลากรผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์

อาจารย์ประจำวิชา

Course Staff Image #1

อ.พญ.พรรณวิไล ตั้งกุลพานิชย์

อีเมล์ Panvilai.tan@gmail.com
อาจารย์แพทย์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

Course Staff Image #2

อ.พญ.ธาวินี ไตรณรงค์สกุล

อีเมล์ t_noon65@hotmail.com
อาจารย์แพทย์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

เป้าหมายการเรียนรู้

เมื่อผ่านรายวิชานี้ ผู้เรียนจะสามารถ....

1. ตระหนักถึงความสำคัญของการซักประวัติและตรวจร่างกายอันนำไปสู่การวินิจฉัยและรักษาได้

2. สามารถซักประวัติและตรวจร่างกายระบบต่าง ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ ระบบทางเดินหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิต ผิวหนัง กล้ามเนื้อและข้อต่อ ระบบประสาท และระบบทางเดินอาหาร ได้อย่างถูกต้อง

3. วิเคราะห์ภาวะฉุกเฉินได้จากผลการซักประวัติและตรวจร่างกาย

4. สามารถประยุกต์ความรู้ที่ได้จากการซักประวัติและตรวจร่างกายเพื่อคัดแยกผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉิน

จำนวนชั่วโมงเรียนทั้งหมด

10 ชั่วโมง

จำนวนชั่วโมง ที่ต้องใช้ในการเรียนรู้ต่อสัปดาห์/หรือต่อครั้ง

2 ชั่วโมง/สัปดาห์

การนำผลการเรียนรู้ไปใช้ประโยชน์

เพื่อการศึกษาตามอัธยาศัย

ระดับของเนื้อหารายวิชา

ปริญญาตรี /เนื้อหาเรียนตามอัธยาศัย
(และเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา รมวฉ ๒๐๔ การซักประวัติและตรวจร่างกายทางปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ ๒ ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล )

ประเภทของการเรียนในรายวิชา

เรียนแบบกลุ่ม

ระดับความยากของเนื้อหารายวิชา

ระดับกลาง

นโยบายการวัดประเมินผล เกณฑ์การให้คะแนน การผ่าน/ไม่ผ่าน และใบประกาศนียบัตร

เข้าทำแบบทดสอบก่อนเรียน / มีผลคะแนนแบบทดสอบระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียนไม่น้อยกว่า 50%

แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้เพิ่มเติม

- การซักประวัติและตรวจร่างกายสำหรับบุคลากรฉุกเฉินการแพทย์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

- Emergency Care The Pocket Guide Book ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

คำถามที่พบบ่อย

นักเรียนจะได้อะไรเมื่อเข้ามาเรียน

แพทย์ พยาบาล นฉพ. หรือบุคลากรทางการแพทย์ จะได้เรียนรู้ทักษะการซักประวัติและตรวจร่างกายเบื้องต้น ซึ่งมีวิดีโอสาธิตการตรวจร่างกายที่ถูกต้องให้ดู

สำหรับนักศึกษาแพทย์เปิดดู เว็บไซต์ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน เพื่อเปิดหาความรู้เพิ่มเติมได้

นฉพ. จำเป็นต้องเรียนทุกคนหรือไม่?

จำเป็นต้องเรียนค่ะ โดยเฉพาะ นักศึกษา นฉพ. ของรามาธิบดี เป็นส่วนหนึ่งของการสอบผ่านนะคะ

“สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”

Enroll