อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหลัก
รศ.ดร.บุหงา ชัยสุวรรณ
รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
หัวหน้าโครงการอบรม ความรู้และทักษะการใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อการสื่อสารสำหรับบุคลากรวัยทำงาน
รายวิชานี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เกิดความเข้าใจในการสร้าง Chatbot โดยไม่ต้องเขียนโปรแกรม เริ่มตั้งแต่ การทำความรู้จัก Chatbot ขั้นตอนการพัฒนา Chatbot การสร้างบัญชี และเชื่อมโยง Chatbot Engine การพัฒนาคำตอบสำหรับการสนทนาอัตโนมัติ ปัญหาที่อาจพบในการพัฒนา Chatbot และแนวทางแก้ไข ตลอดจนการนำข้อมูลออก และเสริมประสิทธิภาพในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การใช้ Rich Menu Flex Message หรือ การใช้ API เพื่อแปลงเสียงพูดเป็นข้อความ พัฒนารายวิชาโดย : นิเทศ@นิด้า
จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 4 ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 2 ชั่วโมง 35 นาที)
1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายหลักการพื้นฐาน และความหมายของ Chatbot ได้
2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายกระบวนการการพัฒนา Chatbot โดยไม่ต้องเขียนโปรแกรม
3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนา Chatbot โดยไม่ต้องเขียนโปรแกรมได้
- กลุ่มนิสิตนักศึกษา ที่เรียนทางด้านนิเทศศาสตร์ที่ต้องการเสริมความรู้และทักษะเกี่ยวกับ Chatbot
- บุคลากรวัยทำงานด้านการสื่อสารที่ต้องการเพิ่มความรู้และพัฒนาทักษะเกี่ยวกับ Chatbot
- ผู้ประกอบการที่ต้องการเพิ่มความรู้และพัฒนาทักษะเกี่ยวกับ Chatbot
เข้าทำแบบทดสอบก่อนเรียน แบบฝึกหัดท้ายบทเรียน Quiz 55% ข้อสอบวัดผลการเรียนรู้ Final 45%
ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 75% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้
รศ.ดร.บุหงา ชัยสุวรรณ
รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
หัวหน้าโครงการอบรม ความรู้และทักษะการใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อการสื่อสารสำหรับบุคลากรวัยทำงาน
ดร.วินน์ วรวุฒิคุณชัย
Founder and CEO, BOTNOI Group
ผศ.ดร.พรรณพิลาศ กุลดิลก
นักวิจัย โครงการอบรม ความรู้และทักษะการใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อการสื่อสารสำหรับบุคลากรวัยทำงาน
ดร.ชัชญา สกุณา
นักวิจัย โครงการอบรม ความรู้และทักษะการใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อการสื่อสารสำหรับบุคลากรวัยทำงาน
E-mail gscm@nida.ac.th เบอร์ 0-2727-3759, 0-2727-3764
“สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org)
และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”