ผศ.ดร.ภญ.พัชราภรณ์ สุดชาฎา
Asst. Prof. Dr.Patcharaporn Sudcharda
ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
e-mail: psudchada@gmail.com
รายวิชาเรียนตามอัธยาศัย
รายวิชานี้ได้ปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอน เป็น "การเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced)"
เกี่ยวกับรายวิชา
ใน 5 ชั่วโมงการเรียนรู้ที่เราจะเรียนเรื่อง เภสัชบำบัดในโรคไตเรื้อรังนี้ คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ โรคไตเรื้อรังเบื้องต้น การดูแลและการรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง หลักการชะลอการเสื่อมของไต หลักการใช้ยาในการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วยที่มีโรคไตเรื้อรังร่วมด้วย รวมถึงการดูแลรักษา ภาวะโลหิตจาง ภาวะการขาดสมดุลของกระดูกและแร่ธาตุ และภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ซึ่งความรู้ที่ได้นี้จะช่วยให้คุณสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการให้การบริบาลเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ (แบ่งตามประเภทของการเรียนรู้ตาม BLOOM’S TAXONOMY หรือ OUTCOME BASE)
1. ทราบถึงสถานการณ์ ลักษณะของโรคไตเรื้อรัง รวมถึงเกณฑ์การวินิจฉัย ระดับความรุนแรง
2. ทราบถึงอาการและอาการแสดง ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ การคำนวณอัตราการกรองของไต การประเมินผู้ป่วย และหลักการการชะลอการก้าวหน้าของโรคอการก้าวหน้าของโรค
3. สามารถดูแลการใช้ยาในการควบคุมความดันโลหิตในผู้ที่โรคไตเรื้อรังได้อย่างเหมาะสม
4. สามารถดูแลการใช้ยาในภาวะโลหิตจาง และการควบคุมภาวะการขาดสมดุลของกระดูกและแร่ธาตุในผู้ที่โรคไตเรื้อรังได้อย่างเหมาะสมรคไตเรื้อรังได้อย่างเหมาะสม
5. สามารถดูแลการใช้ยาในการควบคุมภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงในผู้ที่โรคไตเรื้อรังได้อย่างเหมาะสม
อาจาย์ผู้สอนในรายวิชา
นโยบายการวัดประเมินผล เกณฑ์การให้คะแนน การผ่าน/ไม่ผ่าน และใบประกาศนียบัตร (หากมี)
การวัดประเมินผลการเรียนรู้ เกณฑ์การประเมินผลทั้งสิ้นร้อยละ 100 แบ่งออกเป็นการประเมินผล ดังนี้
1. มีการประเมินผลการทำแบบฝึกหัดในแต่ละบทเรียนบทละ 4 ข้อ คิดเป็นคะแนนสะสม ร้อยละ 50
2. มีการประเมินผลแบบทดสอบท้ายบทเรียน เป็นข้อสอบแบบปรนัย ร้อย 50
3. มีการระบุเกณฑ์ ผ่าน/ไม่ผ่าน โดยมีคะแนนรวม ผ่านที่ร้อยละ 60
จำนวนชั่วโมงเรียนทั้งหมด/จำนวนหน่วยกิต (หากเป็นรายวิชาในหลักสูตรปกติ)
5 ชั่วโมงการเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 1 ชั่วโมง 45 นาที)
จำนวนชั่วโมง ที่ต้องใช้ในการเรียนรู้ต่อสัปดาห์/หรือต่อครั้ง
1-2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ / จำนวน 5 สัปดาห์
ความรู้พื้นฐานที่ต้องมีมาก่อน (หากมี)
Pharmacology, pathophysiology
ระดับของเนื้อหารายวิชา
เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา (ระบุ).......เภสัชบำบัดประยุกต์ 2........
ประเภทของการเรียนในรายวิชา (เรียนด้วยตนเอง เรียนแบบกลุ่ม)
เรียนด้วยตนเอง
ระดับความยากของเนื้อหารายวิชา
ระดับเบื้องต้น
กลุ่มเป้าหมาย ของรายวิชา
นิสิตเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 4,5,6 และเภสัชกรผู้สนใจ
คำแนะนำในการเรียนรู้
รายวิชาจะเปิดเนื้อหาทั้ง 5 บท (ชั่วโมงการเรียนรู้พร้อมกัน) ทุกท่านสามารถเข้าเรียนได้ตามความสะดวก แต่ผู้สอนแนะนำให้ท่านเริ่มเรียนจากบทที่ 1 และ 2 ก่อน ส่วนบทที่ 3-5 ท่านสามารถเลือกเรียนก่อน หรือ หลัง ตามความสนใจ
แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ (ระบุเอกสาร ตำรา เว็บไซต์ ฯลฯ)
KDIGO 2012 Clinical Practice Guidelinefor the Evaluation and Management ofChronic Kidney Disease
KDIGO Clinical Practice Guideline for Acute Kidney Injury
KDIGO Clinical Practice Guideline on the Evaluationand Care of Living Kidney Donors
KDIGO Clinical Practice Guideline for Lipid Management in Chronic Kidney Disease
KDIGO Clinical Practice Guideline for the Management of Blood Pressure in Chronic Kidney Disease
KDIGO Clinical Practice Guideline for Anemia in Chronic Kidney Disease
Practice Guidelines for Iron Deficiency and Anemia in CKD
KDIGO 2017 Clinical Practice Guideline Update for the Diagnosis, Evaluation, Prevention, and Treatment of Chronic Kidney Disease–Mineral and Bone Disorder (CKD-MBD)
KDIGO Clinical Practice Guideline for the Diagnosis, Evaluation, Prevention, and Treatment of Chronic Kidney Disease-Mineral and Bone Disorder (CKD-MBD)
Best Practices in Managing HYPERKALEMIA in Chronic Kidney Disease
Creative common สัญญาอนุญาตสิทธิ์
“สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”