อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหลัก
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นรีรัตน์ อนันต์ชัยรัชตะ
rbac.mooc@gmail.com
ความหมาย วิวัฒนาการ การนิยามปัญหา และเทคนิคการค้นหาในปัญญาประดิษฐ์ ความหมายและกระบวนการทางวิศวกรรมความรู้ เทคนิคการแทนความรู้ ภาษาโปรล็อก ขั้นตอนในการเข้าใจภาษาธรรมชาติ การวิเคราะห์ทางวากยสัมพันธ์ ตัวแจงส่วนแบบบนล่างและตัวแจงส่วนแบบตาราง ไวยากรณ์ข่ายงานเปลี่ยนสถานะ บทบาทของปัญญาประดิษฐ์ในชีวิตประจำวัน และบทบาทของปัญญาประดิษฐ์กับธุรกิจดิจิตอล และการปรับตัวขององค์กรธุรกิจในอนาคต
จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 10 ชั่วโมงเรียนรู้ จำนวนชั่วโมงสื่อ 3 ชั่วโมง 30 นาที
1. ผู้เรียนสามารถนิยามปัญหาและบอกเทคนิคการค้นหาในปัญญาประดิษฐ์ได้
2. ผู้เรียนสามารถอธิบายกระบวนการทางวิศวกรรมความรู้และการแทนความรู้ได้
3. ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์วากยสัมพันธ์และข่ายงานทางคอมพิวเตอร์ได้
4. ผู้เรียนสามารถเลือกใช้ปัญญาประดิษฐ์กับชีวิตประจำวันและการดำเนินธุรกิจได้
นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ทุกเพศ ทุกวัย ที่สนใจสามารถเรียนได้
ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นรีรัตน์ อนันต์ชัยรัชตะ
rbac.mooc@gmail.com
ผู้สอนจะเข้ามาตอบข้อคำถาม ประเด็นสงสัย(Discussion forum) ที่เกี่ยวข้อกับเนื้อหาในรายวิชาวันช่วงวันเสาร์ เวลา 21.00 น. หรือ ตอบภายใน 48 ชั่วโมงหลังจากที่ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น คำถาม หรือประเด็นต่างๆ
“สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org)
และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”