ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ความคิดสร้างสรรค์สำหรับการออกแบบสื่อเสียง | Creative Ideas for Audio Design


RMUTSB

"เพียงสื่อเสียงที่สร้างสรรค์โลกโดยนักคิด

ก็ปลุกชีวิตให้เกิดหลายล้านความคิดอย่างสร้างสรรค์"

 

ชื่อรายวิชา  ความคิดสร้างสรรค์สำหรับการออกแบบสื่อเสียง 

(Creative Ideas for Audio Design)

คำอธิบายรายวิชา 

พัฒนารายวิชาโดย

300

อาจารย์ปริณุต ไชยนิชย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีมัลติมีเดีย สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา

สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับ

แนวคิดพื้นฐานของสื่อเสียงที่เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของสื่อมัลติมีเดีย การออกแบบสื่อเสียงอย่างมีคุณภาพโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ การสร้างแนวคิดในการออกแบบสื่อเสียงนอกกรอบสไตล์ตัวเองไม่เลียนแบบใคร การพากย์เสียงบรรยายแบบไม่ต้องเสียงหล่อสวยก็ออกสื่อได้ การจับคาแรคเตอร์ของตนเองมาเป็นจุดขายในงานเสียง การสร้างสรรค์เสียงดนตรีประกอบสื่อลิขสิทธิ์ตนเองแบบที่ไม่ต้องเล่นดนตรีได้ก็ทำได้  การวิเคราะห์งานเสียงของผู้อื่นเพื่อสร้างสรรค์งานเสียงของตนเอง การผสมเสียงระหว่างเสียงบรรยาย เสียงดนตรี และเสียงประกอบ ผสมเสียงอย่างไรให้น่าฟังและถูกหลักการออกแบบสื่อเสียง

 

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

เวลาในการศึกษา : 10 ชั่วโมงการเรียนรู้
เวลาในการศึกษาต่อสัปดาห์ : 2 ชั่วโมงการเรียนรู้ (เรียนแบบออนไลน์ 100%)
ประเภทของการเรียนในรายวิชา : เรียนด้วยตนเอง 5 สัปดาห์
กำหนดการสอน :  จันทร์ที่ 5 มิถุนายน 2560 - อาทิตย์ที่ 9 กรกฎาคม 2560
* เนื้อหาทั้งสิ้น 10 บท โดยใช้เวลาเรียน 2 ชั่วโมงการเรียนรู้
* รวมใช้เวลาศึกษาด้วยตนเองทั้งสิ้น 5 สัปดาห์การทำข้อสอบประมวลความรู้
ค่าธรรมเนียมการเรียน : ไม่มี
สื่อการเรียนรู้ : วีดิทัศน์สื่อการเรียนรู้ เอกสารประกอบการสอน (เว็บลิ้งค์)
และ แบบทดสอบที่ใช้ในการเรียนการสอน
ภาษาหลักของสื่อการสอน : ภาษาไทย และภาษาอังกฤษเบื้องต้น
ระดับความยากง่ายของเนื้อหา : ระดับเบื้องต้น
ความรู้พื้นฐานที่ต้องมี : -
คุณสมบัติผู้เรียน : ผู้สนใจงานเสียงที่จะนำไปประกอบสื่อมัลติมีเดียและใช้คอมพิวเตอร์ได้
รายวิชานี้เหมาะสมกับ :  นิสิต-นักศึกษาระดับปริญญาตรี ไม่จำกัดสาขา / นักเรียน / ประชาชนทั่วไป
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ :

LO1: จดจำแนวคิดพื้นฐานของการออกแบบสื่อเสียงด้วยความคิดสร้างสรรค์ได้

LO2: เข้าใจขั้นตอนการออกแบบสื่อเสียงด้วยความคิดสร้างสรรค์ได้

LO3: ออกแบบแผนที่ความคิด (Mindmap) เกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์สำหรับการออกแบบสื่อเสียงได้

LO4: ได้แนวทางนการสร้างสื่อเสียงโดยใช้หลักการออกแบบอย่างสร้างสรรค์ได้

LO5: เปรียบเทียบผลงานการออกแบบสื่อเสียงได้อย่างมีจุดยืนในการตัดสินใจ

LO6: ได้แนวทางการพัฒนางานมิกซ์เสียงอย่างสร้างสรรค์ด้วยตัวเองได้

เกณฑ์การผ่านวิชา และได้ใบประกาศนียบัตร (หากมี): ผู้เรียนได้รับประกาศนียบัตรอิเล็คทรอนิกส์ (หากมี) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมพร้อมผ่านการวัดผลทั้งหมด และได้ผลการประเมินเกิน 70% โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม
   

 

 

ปฏิทินการสอน

อาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2560

                  แนะนำรายวิชา และทำกิจกรรมก่อนการเรียนรู้

วันจันทร์ที่ 15 พฤษภาคม 2560 อาทิตย์ที่ 21 พฤษภาคม 2560

  • บทที่ 1 - ธรรมชาติของเสียงและการได้ยิน
  • บทที่ 2 - หลักการเปลี่ยนทัศนคติผู้ฟังและการสร้างสื่อเสียงแห่งความทรงจำ
  • บทที่ 3 - หลักการออกแบบสื่อเสียงบรรยายและเสียงดนตรี
  • บทที่ 4 - หลักการออกแบบสื่อเสียงประกอบและการสร้าง sound character

จันทร์ที่ 22 พฤษภาคม 2560 - อาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม 2560

    • บทที่ 5 - การสร้างแผนที่ความคิดและการไตร่ตรองการจินตนาการวาดเสียง
    • บทที่ 6 - หลักการพัฒนาบทและการมิกซ์งานเสียง
    • บทที่ 7 - การมิกซ์เสียงกับธรรมชาติสร้างสรรค์

จันทร์ 29 พฤษภาคม 2560 - อาทิตย์ 4 มิถุนายน 2560 

    • บทที่ 8 - เกียรติและศักดิ์ศรีของนักทำ audio
    • บทที่ 9 - ถ่ายทอดความรู้ที่ได้ด้วยการสอนผู้อื่น
    • บทที่ 10 - การเขียนโมเดลพัฒนาสื่อเสียงอย่างสร้างสรรค์

วันที่ 5-9 มิถุนายน 2560 

                 ช่วงเวลาทำข้อสอบประมวลความรู้ (ออนไลน์)

 

 

เครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนบน

พัฒนาในกรอบความร่วมมือของ เครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนบน

 

 
Instructed by Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi
 
 
 
CC-BY-NC-SA
Enroll