ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การเล่าเรื่องในสื่อดิจิทัลอย่างรู้เท่าทัน (สำหรับคนหูหนวก) | Digital Storytelling with Literacy (for the Deaf)


RSU
รายวิชานี้ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

CC

ศึกษาและเรียนรู้หลักสำคัญของเทคนิคการเขียนบทในรูปแบบต่าง ๆ และการเล่าเรื่องในสื่อดิจิทัล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการเล่าเรื่อง การวิเคราะห์ผู้ชม เข้าใจองค์ประกอบของการเล่าเรื่อง การสืบค้นข้อมูลเพื่อการเล่าเรื่อง และรู้จักวิธีการพัฒนาเรื่องเล่าในสื่อดิจิทัลและวิธีการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการเล่าเรื่องได้อย่างเหมาะสม

หมายเหตุ : บทเรียนรายวิชานี้พัฒนาและออกแบบการนำเสนอและแบบกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

CC

จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 3 ชั่วโมงการเรียนรู้ โดยเรียนรู้ 1-2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 2 ชั่วโมง)

CC

1. ผู้เรียนสามารถอธิบายถึงความสำคัญและองค์ประกอบหลักของการเล่าเรื่องได้
2. ผู้เรียนสามารถอธิบายถึงแนวทางการวิเคราะห์ผู้ชม บอกประเภทของแพลตฟอร์มสื่อ และอธิบายถึงแนวทางในการพัฒนาเรื่องเล่าในสื่อดิจิทัลได้

CC

คนหูหนวก กลุ่มวัยรุ่น นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ทุกเพศ ทุกวัย ที่สนใจสามารถเรียนได้

CC

ผู้เรียนเข้าทำแบบทดสอบก่อนเรียน กิจกรรมในบทเรียน แบบทดสอบระหว่างเรียน (เก็บคะแนน 60%) และเข้าแบบทดสอบหลังเรียน (เก็บคะแนน 40%) ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้

CC

Course Staff Image #1

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหลัก

ผศ. ดร.ชวพร ธรรมนิตยกุล

หัวหน้าสาขาการโฆษณาและสื่อสร้างสรรค์
วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยรังสิต
E-mail: chawaporn.d@rsu.ac.th

Course Staff Image #1

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาร่วม

ผศ. ดร.กันยารัตน์ ศรีวิสทิยกุล
อาจารย์ประจำภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี 
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
E-mail: kanyarat.sr@kmitl.ac.th

CC


Enroll