ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาชุมชน | Basic tools for community study


SCPHPL

คำอธิบายรายวิชา

            เมื่อได้เข้าศึกษาในรายวิชาเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาชุมชนนี้แล้ว จะช่วยให้ผู้ที่จะเริ่มต้นทำงานในชุมชน ผู้ที่กำลังทำงานในชุมชน หรือประชาชนที่สนใจได้เติมเต็มความรู้ สามารถทำงานงานชุมชนอย่างมีทิศทาง รู้ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง และทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ ในบริบททางสังคมวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์แต่ละท้องถิ่น ได้เข้าใจข้อจำกัดและศักยภาพของชุมชน ทำให้เราเข้าใจชุมชนอย่างที่ชุมชนเป็น เนื้อหาได้บอกถึงความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์ ประเภทของเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาชุมชน ประกอบด้วย แผนที่เดินดิน ผังเครือญาติ ระบบสุขภาพชุมชน โครงสร้างองค์กรชุมชน ปฏิทินชุมชน ประวัติศาสตร์ชุมชน และประวัติชีวิต

จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้

จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 5 ชั่วโมงการเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 3 ชั่วโมง 15 นาที)

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

  • LO1 : อธิบายความหมาย ความสำคัญ ของเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาชุมชนได้อย่างถูกต้อง
  • LO2 : บอกประโยชน์และขั้นตอนการทำเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาชุมชนได้อย่างถูกต้อง
  • LO3 : เลือกใช้เครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาชุมชนแต่ละประเภทได้อย่างถูกต้อง

คุณสมบัติของผู้เรียน

  • นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต และนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ
  • กลุ่มนักเรียน นักศึกษา และประชาชนที่สนใจ

เกณฑ์การวัดผลของรายวิชา

  1. การประเมินผลระหว่างเรียน (Formative Assessment) วัดจากการทำแบบทดสอบหลังเรียนประจำโมดูลการเรียนรู้ในแต่ละสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 70
  2. การประเมินผลหลังสิ้นสุดการเรียนการสอน (Summative Assessment) วัดจากการทำแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คิดเป็นร้อยละ 30
  3. การตัดสินให้ผ่าน (Pass) และการให้ประกาศนียบัตร (Certificate) เมื่อผู้เรียนได้คะแนนรวมทั้งหมด ตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป โดยระบบจะแสดงใบประกาศนียบัตรให้อัตโนมัติในแถบเมนู Progress ซึ่งผู้เรียนสามารถ Save หรือสั่งพิมพ์ได้ด้วยตนเอง ดังนั้นผู้เรียนจึงควรเข้าเรียนและทำกิจกรรมการเรียนรู้ให้ครบทุกโมดูลการเรียนรู้

อาจารย์ผู้สอน

Course Staff Image #1

ภก. ดร.เกียรติศักดิ์ แซ่อิว

เภสัชกรชำนาญการพิเศษ
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก
คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

Course Staff Image #1

ดร.วรัญญ์ศิชา ทรัพย์ประเสริฐ

วิทยาจารย์ชำนาญการพิเศษ
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

Course Staff Image #1

ดร.นิรัชรา ลิลละฮ์กุล

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

Course Staff Image #1

อ.เบญญาภา กาลเขว้า

วิทยาจารย์ชำนาญการพิเศษ
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

Course Staff Image #1

อ.จินดา คำแก้ว

วิทยาจารย์ชำนาญการพิเศษ
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

Course Staff Image #1

ดร.สาลี อินทร์เจริญ

วิทยาจารย์ชำนาญการพิเศษ
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง
คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

Course Staff Image #1

อ.พยงค์ ศรีเจริญ

วิทยาจารย์ชำนาญการพิเศษ
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

Course Staff Image #1

อ.จริล แก้วดวงเล็ก

วิทยาจารย์ชำนาญการพิเศษ
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก
คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

ช่องทางติดต่อทีมผู้สอน

E-Mail : kiattisak@scphpl.ac.th

เบอร์โทร : 088-2679073

คำแนะนำสำหรับผู้เรียน

            ผู้เรียนควรมีอุปกรณ์ต่าง ๆ (Devices) อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ โน้ตบุ๊ก แท็บเล็ต หรือสมาร์ตโฟน ที่มีความละเอียดของหน้าจอ (Resolution) ไม่ต่ำกว่า 1024 x 768 Pixel โดยอุปกรณ์ต่าง ๆ จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (High Speed Internet) ที่มีความเร็วไม่น้อยกว่า 512 Kbps โดยผู้เรียนสามารถเข้าถึงบทเรียนได้ทุกระบบปฏิบัติการ (Operating System) ผ่านเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser)

Enroll