ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พื้นที่จุดประกาย | Start Up Space


STOU

รายวิชาเรียนตามอัธยาศัย

รายวิชานี้ได้ปรับรูปแบบ การจัดการเรียนการสอนเป็น

"การเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced)"

จำนวนชั่วโมงเรียน/จำนวนหน่วยกิต: 15 ชั่วโมง(จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 5 ชั่วโมง 15 นาที)
จำนวนชั่วโมงที่ต้องใช้ในการเรียนรู้ต่อสัปดาห์/หรือต่อครั้ง: 3-4 ชั่วโมง
ระดับของเนื้อหารายวิชา: เนื้อหาเรียนตามอัธยาศัย
ประเภทของการเรียนในรายวิชา : เรียนด้วยตนเอง
ระดับความยากของเนื้อหารายวิชา : เบื้องต้น
กลุ่มเป้าหมายของรายวิชา: ผู้นำชุมชนหรือบุคคลทั่วไปที่สนใจสร้างศูนย์การเรียนรู้ ศูนย์การให้บริการในชุมชน
แนะนำรายวิชา
รายวิชาพื้นที่จุดประกาย (Start up Space) เน้นการเรียนรู้การสร้างพื้นที่ทำงานร่วมกันในระดับชุมชน หรือในปัจจุบันเรียกกันว่า Co-Working Space เป็นการสร้างพื้นที่ที่มีความหลากหลาย เกิดความยืดหยุ่นในการทำงานร่วมกัน ซึ่งส่วนใหญ่การจัดตั้ง Co-Working Space จะเกิดขึ้นภายในเมืองใหญ่หรือพื้นที่ในย้ายธุรกิจ จึงทำให้แนวทางการทำ Co-Working Space ในเมืองประสบความสำเร็จ และด้วยแนวทางการพัฒนาที่ประสบความสำเร็จบวกกับความต้องการของชุมชนที่มีพื้นที่หรือศูนย์บริการชุมชนและมีความต้องการปรับปรุง พัฒนา พื้นที่ดังกล่าวให้มีความทันสมัย ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อให้คนในชุมชนเข้ามาใช้บริการ เกิดการเรียนรู้ ความคิดสร้างสรรค์ การทำงานร่วมกันและการสร้างเครือข่ายระหว่างชุมชน รวมถึงเป็นการจุดประกายพื้นที่ในการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ดังนั้นในรายวิชาพื้นที่จุดประกาย (Start up Space) จึงมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมให้การสร้างพื้นที่ให้เป็น Start up Space แนวทางการบริหารจัดการ การบริการ รวมถึงตัวอย่างการทำ Co-Working Space ทั้งในประเทศ ต่างประเทศ และในชุมชน ที่ประสบความสำเร็จ เป็นแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ของตนเองและชุมชนให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด
คุณสมบัติผู้เรียน/ความรู้พื้นฐานที่ควรมีมาก่อน:
    ความรู้ ความเข้าใจในการจัดตั้งศูนย์ให้บริการและการเรียนรู้ระดับชุมชน
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
    LO1: ทราบถึงแนวทางการพัฒนาพื้นที่ให้บริการรูปแบบ Co-Working Space ในระดับชุมชน
    LO2: เข้าใจหลักการและรูปแบบการพัฒนาพื้นที่ให้บริการรูปแบบ Co-Working Space ระดับชุมชน
    LO3: สามารถนำหลักการและรูปแบบการพัฒนาพื้นที่ให้บริการไปใช้ประโยชน์กับพื้นที่ในชุมชนได้
    LO4: เล็งเห็นความสำคัญของพื้นที่ในชุมชนและนำมาปรับเป็นพื้นที่การทำงานร่วมกันในชุมชนได้
    LO5: นำแนวทางการพัฒนาพื้นที่ให้บริการมาใช้ประโยชน์กับชุมชนเพื่อกระจายรายได้และกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน รวมถึงต่อยอดสู่แนวทางการบริหารแบพึ่งพาต้นเอง
นโยบายการวัดประเมินผล เกณฑ์การให้คะแนน การผ่าน/ไม่ผ่าน และใบประกาศนียบัตร
ผู้เรียนได้รับประกาศนียบัตรอิเล็คทรอนิกส์ เมื่อผ่านเกณฑ์การประเมินรายวิชา พื้นที่จุดประกาย (Start up Space) และได้ผลการประเมินเกิน 60%
ทีมผู้สอนและทีมผู้พัฒนารายวิชาออนไลน์
Course Staff Image #1 รศ.ดร.กมลรัฐ อินทรทัศน์
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการจัดการความรู้การสื่อสารและการพัฒนา (CCDKM) และเป็นที่ที่ปรึกษาของศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน (ThaiTelecentre.org) นับตั้งแต่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2550 ภายใต้โครงการของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(MICT)
Course Staff Image #1 นายพลเทพ เศรษฐีวรรณ
ผู้ก่อตั้ง Launchpad ซึ่งเป็น Co-working space ยอดนิยมอีกแห่งหนึ่งที่เหมาะสำหรับคนทำงานฟรีแลนซ์ แหล่งรวมตัวของ Tech Startup
Course Staff Image #1 นางสาวภัทฐิตา คงเพ็ชร์ | นักเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้พัฒนารายวิชาออนไลน์ "Start Up Space (พื้นที่จุดประกาย)"
e-Mail: ccdkm.org@gmail.com

 

Research Center of Communication and Development Knowledge Management

DIRECTED BY 

Research Center of Communication and Development Knowledge Management (CCDKM)
Sukhothai Thammathirat Open University (STOU)

 

CREATED BY 
CCDKM STAFF | MR.NUTTASARUN SUEYUKOOL
 
CC-BY-NC-SA
Enroll