ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ภูมิปัญญาไทย กับการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน | Thai wisdom with agricultural sustainable development


STOU

รายวิชานี้ได้ปรับเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced Learning)

คำอธิบายรายวิชา

แนวคิดการจัดการความรู้ ภูมิปัญญาและนวัตกรรม แนวทางการจัดการความรู้ ภูมิปัญญา และนวัตกรรมเพื่อการผลิตอาหาร เกษตรอินทรีย์ และการท่องเที่ยวเชิงเกษตร แนวทางและกรณีตัวอย่างการใช้ข้อมูล ความรู้ ภูมิปัญญาและนวัตกรรมในการทำเกษตรแม่นยำ (Precision Agriculture) และการจัดการอาหารปลอดภัย เกษตรอินทรีย์และการท่องเที่ยวเชิงเกษตร

จำนวนชั่วโมงเรียนรู้

จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 10 ชั่วโมงการเรียนรู้ 2 ชั่วโมงการเรียนรู้/ต่อสัปดาห์ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 5 ชั่วโมง 15 นาที)

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

1. ผู้เรียนสามารถอธิบายแนวคิดการจัดการความรู้ ภูมิปัญญา และนวัตกรรมเพื่อการทำเกษตรแม่นยำ(Precision Agriculture)การผลิตอาหารปลอดภัย เกษตรอินทรีย์ และการท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้

2. ผู้เรียนสามารถอธิบายแนวทางการจัดการความรู้ ภูมิปัญญา และนวัตกรรมในการทำเกษตรแม่นยำ(Precision Agriculture)ได้

3. ผู้เรียนสามารถอธิบายแนวทางการจัดการความรู้ ภูมิปัญญา และนวัตกรรมในการทำผลิตอาหารปลอดภัยได้

4. ผู้เรียนสามารถอธิบายการจัดการความรู้ ภูมิปัญญา และนวัตกรรมในการผลิตเกษตรอินทรีย์ได้

5. ผู้เรียนสามารถอธิบายแนวทางการจัดการความรู้ ภูมิปัญญา และนวัตกรรมในการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้

คุณสมบัติผู้เรียน

นักศึกษา เกษตรกร ประชาชนทั่วไป ประมาณการจำนวนผู้เรียนกลุ่มเป้าหมาย 300 คน

เกณฑ์การวัดผล

- แบบทดสอบก่อนเรียน 0%
- แบบทดสอบหลังเรียน 100% (โมดูลละ 20%)
- กิจกรรมระหว่างเรียน 0%
- ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับใบประกาศนียบัตรในระบบได้


Course Staff Image #1

cc

Creative commons สัญญาอนุญาตสิทธิ์

“สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org)
และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”

Enroll