ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ภูมิปัญญาไทยกับการดูแลผู้สูงอายุสำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ | Caring for the Elderly by Using Thai wisdom for Elderly Caregivers


STOU

คำอธิบายรายวิชา

“ภูมิปัญญาไทยกับการดูแลผู้สูงอายุสำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ”

    ภูมิปัญญาไทยถือเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นสมบัติหรือภูมิรู้ที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ในผู้สูงอายุ ดังนั้นการดูแลผู้สูงอายุด้วยสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวจึงเป็นวิถีการส่งเสริมสุขภาพที่ช่วยให้เกิดสุขภาวะทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ อีกทั้งยังเป็นการให้คุณค่ากับความรู้หรือภูมิรู้ผู้สูงอายุ และทำให้เกิดการสืบสานภูมิปัญญาพื้นบ้านในท้องถิ่นต่างๆ
    การดูแลด้านร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านหรือภูมิปัญญาไทยนั้นถือเป็นสิ่งที่มีคุณค่าในเชิงการอนุรักษ์และส่งเสริมให้เกิดสุขภาวะจากสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่นอีกทั้งเป็นสิ่งที่มีอยู่ในผู้สูงอายุ ดังนั้น การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกายและจิตใจด้วยวิธีการ “สุนทรียสนทนา แบบสัปปายะ” “การนวดไทย คลายปวดเมื่อย” “การแช่สมุนไพร มือ-เท้า กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต” “การประคบน้ำมันมะกอก” และ“การฝึกหายใจสร้างพลัง” จึงเป็นสิ่งที่ผู้ดูแลควรรู้และนำมาใช้ดูแลผู้สูงอายุ

จำนวนชั่วโมงเรียนรู้

จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 15 ชั่วโมงเรียนรู้

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

  1. อธิบายความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทยในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุได้ถูกต้อง
  2. บอกวัตถุประสงค์ของการใช้เทคนิคแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุได้อธิบายและมีทักษะในการประเมินและดูแลผู้สูงอายุด้วย “สุนทรียสนทนาแบบสัปปายะ” ได้อย่างถูกต้อง
  3. อธิบายและมีทักษะในการประเมินและดูแลผู้สูงอายุด้วย “การนวดไทยคลายปวดเมื่อย” ได้อย่างถูกต้อง
  4. อธิบายและมีทักษะในการประเมินและดูแลผู้สูงอายุด้วย “การแช่สมุนไพร มือ-เท้าเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต” ได้อย่างถูกต้อง
  5. อธิบายและมีทักษะในการประเมินและดูแลผู้สูงอายุด้วย“การประคบน้ำมันมะกอก” ได้อย่างถูกต้อง

คุณสมบัติผู้เรียน

  1. นักเรียนและนักศึกษา ทั้งในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา
  2. ผู้ดูแลผู้สูงอายุ และผู้ประกอบการสถานดูแลผู้สูงอายุ
  3. ประชาชนทุกวัยที่สนใจทั่วไป

เกณฑ์การวัดผล

  1. แบบทดสอบก่อนเรียน 0%
  2. แบบทดสอบระหว่างเรียน 60 %
  3. แบบทดสอบหลังเรียน (Final Exam) 40%
  4. ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้

ทีมผู้รับผิดชอบรายวิชา MOOC

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.บุญทิพย์ สิริธรังศรี

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.บุญทิพย์ สิริธรังศรี
ผู้อำนวยการแผนงานวิจัย
Email: boontip@gmail.com, Boontip.sir@stou.ac.th

รองศาสตราจารย์ ดร.กมลรัฐ อินทรทัศน์

รองศาสตราจารย์ ดร.กมลรัฐ อินทรทัศน์
หัวหน้าโครงการพัฒนารายวิชา
สาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Email: kamolrat.int@stou.ac.th

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปณิชา บุญสวัสดิ์ (ผู้รับผิดชอบและวิทยากรหลัก)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปณิชา บุญสวัสดิ์ (ผู้รับผิดชอบและวิทยากรหลัก)
สาขาวิชาการพยาบาลพื้นฐานและบริหารการพยาบาล
สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
Email: pboonsawad@yahoo.com

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กุญชร เจือตี๋

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กุญชร เจือตี๋
สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Email: Kunchon.Jeo@stou.ac.th

อาจารย์ ดร.ชุติวัฒน์ สุวัตถิพงศ์

อาจารย์ ดร.ชุติวัฒน์ สุวัตถิพงศ์
สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Email: chutiwat.train@gmail.com, chutiwat.suw@stou.ac.th

cc

Creative commons สัญญาอนุญาตสิทธิ์

“สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org)
และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”

Enroll