ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การประเมินสัญญาณชีพ การใช้ยา และการป้องกันการติดเชื้อ สำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ | Assessment, Medication Use, and Infection Prevention for Elderly Caregivers


STOU

คำอธิบายรายวิชา

“การประเมินสัญญาณชีพ การใช้ยา และการป้องกันการติดเชื้อสำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ”

        มโนทัศน์เกี่ยวกับการประเมินสัญญาณชีพและการแปลผล การดูแลเมื่อมีไข้ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการใช้ยา หลักการให้ยา ปัญหาที่พบบ่อยและข้อควรระวังการให้ยา การสังเกตอาการข้างเคียงของยา การให้ยาอย่างสมเหตุสมผล แนวคิดการป้องกันการติดเชื้อ การจัดการสิ่งปนเปื้อนเชื้อและการป้องกันการติดเชื้อในอวัยวะต่างๆ ของผู้สูงอายุ
        ฝึกปฏิบัติการวัดสัญญาณชีพ การเช็ดตัวลดไข้ การให้ยา การให้คำแนะนำการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล การสังเกตอาการข้างเคียง การล้างมือ การใช้เครื่องมือป้องกันการติดเชื้อ การใช้เครื่องมือป้องกันการติดเชื้อ โควิด-19 และการป้องกันการติดเชื้อในอวัยวะต่างๆ ของผู้สูงอายุ

จำนวนชั่วโมงเรียนรู้

จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 15 ชั่วโมงเรียนรู้

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

  1. อธิบายมโนทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับสัญญาณชีพได้ถูกต้อง
  2. อธิบายวิธีการประเมินสัญญาณชีพของผู้ใช้บริการและการแปลผลได้ถูกต้อง
  3. ปฏิบัติการวัดสัญญาณชีพได้ถูกต้อง
  4. อธิบายภาวะไข้และการดูแลเมื่อมีไข้ได้ถูกต้อง
  5. ปฏิบัติการดูแลในการเช็ดตัวลดไข้ได้ถูกต้อง
  6. อธิบายความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยา และปัญหาที่พบบ่อยและข้อควรระวังการใช้ยาในผู้สูงอายุได้
  7. อธิบายหลักการใช้ยาในผู้สูงอายุ และวิธีการให้ยาแก่ผู้สูงอายุได้
  8. ปฏิบัติการให้ยาแก่ผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้องตามหลักการใช้ยาได้
  9. ให้คำแนะนำผู้สูงอายุเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผล และการสังเกตผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้
  10. อธิบายแนวคิดเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อในผู้สูงอายุได้
  11. อธิบายการจัดการสิ่งปนเปื้อนเชื้อและการป้องกันการติดเชื้อในอวัยวะต่างๆ ของผู้สูงอายุได้
  12. ปฏิบัติการล้างมือ และการใช้เครื่องมือป้องกันการติดเชื้อได้
  13. ปฏิบัติการใช้ผ้าปิดปาก-จมูก เสื้อคลุม และถุงมือ ได้
  14. ปฏิบัติการใช้เครื่องมือป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้
  15. ปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อในอวัยวะต่างๆ ของผู้สูงอายุได้

คุณสมบัติผู้เรียน

  1. นักเรียนและนักศึกษา ทั้งในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา
  2. ผู้ดูแลผู้สูงอายุ และผู้ประกอบการสถานดูแลผู้สูงอายุ
  3. ประชาชนทุกวัยที่สนใจทั่วไป

เกณฑ์การวัดผล

  1. แบบทดสอบก่อนเรียน 0%
  2. แบบทดสอบระหว่างเรียน 60 %
  3. แบบทดสอบหลังเรียน (Final Exam) 40%
  4. ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้

ทีมผู้รับผิดชอบรายวิชา MOOC

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.บุญทิพย์ สิริธรังศรี

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.บุญทิพย์ สิริธรังศรี
ผู้อำนวยการแผนงานวิจัย
Email: boontip@gmail.com, Boontip.sir@stou.ac.th

รองศาสตราจารย์ ดร.กมลรัฐ อินทรทัศน์

รองศาสตราจารย์ ดร.กมลรัฐ อินทรทัศน์
หัวหน้าโครงการพัฒนารายวิชา
สาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Email: kamolrat.int@stou.ac.th

รองศาสตราจารย์ ดร.อารี ชีวเกษมสุข (ผู้รับผิดชอบและวิทยากรหลัก)

รองศาสตราจารย์ ดร.อารี ชีวเกษมสุข (ผู้รับผิดชอบและวิทยากรหลัก)
สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Email: areecheeva@gmail.com

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อัจฉรา พุ่มดวง (วิทยากร)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อัจฉรา พุ่มดวง (วิทยากร)
อาจารย์พิเศษ สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
Email: apumduang@gmail.com

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปณิชา บุญสวัสดิ์ (วิทยากร)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปณิชา บุญสวัสดิ์ (วิทยากร)
สาขาวิชาการพยาบาลพื้นฐานและบริหารการพยาบาล
สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
Email: pboonsawad@yahoo.com

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เปรมฤทัย น้อยหมื่นไวย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เปรมฤทัย น้อยหมื่นไวย (วิทยากร)
สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Email: premruetairat@yahoo.com

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กุญชร เจือตี๋

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กุญชร เจือตี๋
สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Email: Kunchon.Jeo@stou.ac.th

อาจารย์ ดร.ชุติวัฒน์ สุวัตถิพงศ์

อาจารย์ ดร.ชุติวัฒน์ สุวัตถิพงศ์
สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Email: chutiwat.train@gmail.com, chutiwat.suw@stou.ac.th

cc

Creative commons สัญญาอนุญาตสิทธิ์

“สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org)
และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”

Enroll