ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้นสำหรับระบบสารสนเทศ | Basic Computer Programming for Information System


SUT

รายวิชานี้ได้ปรับเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced Learning)

 ชื่อรายวิชา


การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น สำหรับระบบสารสนเทศ
(Basic Computer Programming for Information System)


 คำอธิบายรายวิชา


     การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเพื่อวัตถุประสงค์ใด ผู้พัฒนาจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในหลักการเขียนโปรแกรม การคิดอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน และเป็นเหตุเป็นผล เพื่อให้โปรแกรมหรือระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นสามารถทำงานและให้ผลลัพธ์ได้อย่างถูกต้อง
     รายวิชานี้จะให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนผังงาน ขั้นตอนและระเบียบวิธีการโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง อาทิ ภาษาซีพลัสพลัส การรับค่าและแสดงผล ชนิดของตัวแปร นิพจน์ ตัวดำเนินการ คำสั่งควบคุมทั้งแบบมีเงื่อนไขและแบบทำซ้ำ แถวลำดับ โดยการเรียนรู้ตลอดรายวิชาจะใช้เทคนิคการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning) หรือการโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน

     ประมวลรายวิชา
     โครงสร้างรายวิชา


 จำนวนชั่วโมงเรียนรู้


จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 12 ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 4 ชั่วโมง 27 นาที)


 วัตถุประสงค์การเรียนรู้


  • LO 1: ผู้เรียนสามารถอธิบายแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเขียนโปรแกรมเบื้องต้นสำหรับระบบสารสนเทศได้
    • LO 1.1 ผู้เรียนสามารถอธิบายเกี่ยวกับขั้นตอนวิธีการเขียนโปรแกรมและหลักไวยากรณ์ได้
    • LO 1.2 ผู้เรียนสามารถอธิบายหลักการทำงานของตัวดําเนินการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหางานด้านสารสนเทศได้
  • LO 2: ผู้เรียนสามารถเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยภาษาซีพลัสพลัสที่สามารถประมวลผลได้อย่างถูกต้อง
    • LO 2.1 ผู้เรียนสามารถเขียนโปรแกรมโดยประยุกต์ใช้คำสั่งควบคุมแบบเงื่อนไข และสามารถประมวลผลได้อย่างถูกต้อง
    • LO 2.2 ผู้เรียนสามารถเขียนโปรแกรมโดยประยุกต์ใช้คำสั่งควบคุมเงื่อนไขแบบทำซ้ำ และสามารถประมวลผลได้อย่างถูกต้อง
    • LO 2.3 ผู้เรียนสามารถเขียนโปรแกรมโดยประยุกต์ใช้ตัวแปรแถวลำดับ และสามารถประมวลผลได้อย่างถูกต้อง

 คุณสมบัติผู้เรียน


นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ผู้สนใจในวิชาชีพด้านคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง


 เกณฑ์การวัดผล


- แบบทดสอบหลังเรียน (Post-Test) ทุกบท 40%
- สอบกลางภาค (Midterm Exam) 30%
- สอบปลายภาค (Final Exam) 30%

*ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้*


 รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเรียน


ในบทเรียนมี Discussion ให้ผู้เรียนทุกท่านสามารถเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมเรียนและทีมผู้สอนได้ โดยทีมผู้สอนจะเข้ามาอ่านทุกวันเสาร์ของแต่ละสัปดาห์


 ทีมผู้รับผิดชอบรายวิชา MOOC


Course Staff Image #1

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหลัก

อาจารย์ ดร.พิชญสินี กิจวัฒนาถาวร
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
อีเมล pichak@sut.ac.th

Course Staff Image #2

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาร่วม

รองศาสตราจารย์ ดร.จิติมนต์ อั่งสกุล
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
อีเมล jitimon@g.sut.ac.th

Course Staff Image #2

ผู้ช่วยสอน

นายภัทรพล ศรีรักษ์
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
อีเมล pattarapol@sut.ac.th


 คำแนะนำการเรียนรู้


1) ผู้เรียนควรแบ่งเวลาสำหรับการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองอย่างน้อยหัวข้อบทเรียนละ 5 ชั่วโมง

2) ผู้เรียนควรเข้าเรียนรู้บทเรียนจำกระบบ MOOC ร่วมกับช่องทางการเรียนรู้อื่นโดยมีการนำความรู้ในแต่ละเรื่องไปฝึกฝนแก้โจทย์ปัญหารูปแบบต่างๆ

3) เน้นการเรียนรู้แบบการมีส่วนร่วมและการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน-ผู้สอน


cc

Creative commons สัญญาอนุญาตสิทธิ์

“สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org)
และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”

Enroll