ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การพัฒนาสมรรถนะครูในยุคดิจิทัล | Competency for teacher in digital age


SWU

รายวิชานี้ได้ปรับเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced Learning)


 

Adobe Systems

จำนวนชั่วโมงที่จัดการเรียนรู้ต่อสัปดาห์/ต่อครั้ง

1 ชั่วโมง 1 ชั่วโมงครึ่ง/ครั้ง

 

Adobe Systems

จำนวนชั่วโมงเรียนทั้งหมด / จำนวนหน่วยกิต

6 ชั่วโมงเรียนรู้ (2 ชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์)   /  จำนวน 3 หน่วยกิต

 

Adobe Systems

ระดับของเนื้อหารายวิชา

ปริญญาตรี

 

Adobe Systems

ประเภทของการเรียนในรายวิชา

เรียนด้วยตนเอง

 

Adobe Systems

ระดับความยากของเนื้อหารายวิชา

เบื้องต้น

 

Adobe Systems

กลุ่มเป้าหมาย ของรายวิชา

นิสิตนักศึกษา / ครู อาจารย์

 

 

 

     

ในยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้เข้ามีบทบาทสำคัญในการดำเนินชีวิตทุกๆ ด้าน ครูผู้สอนจึงต้องเปลี่ยนวิธีคิด ปรับวิธีสอน เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะที่เพียงพอในการดำเนินชีวิตในยุคที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ อย่างรวดเร็วได้อย่างเท่าทันและเป็นสุข ด้วยเหตุนี้ ครูผู้สอนจึงต้องมีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับบริบทและความต้องการในยุคดิจิทัล

รายวิชาสมรรถนะครูในยุคดิจิทัลนี้ มุ่งเน้นพัฒนานิสิต/นักศึกษาครู  ครู/อาจารย์  และบุคลากรทางการศึกษา  ให้มีความรู้ เจตคติ และทักษะเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ เพื่อที่ผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาทักษะที่จำเป็น อาทิ ทักษะการคิด  ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างสร้างสรรค์ อันจะช่วยให้ครูมีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็นสอดคล้องกับบริบทและความต้องการในสังคมยุคดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป

 

 

 

      

   1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เข้าใจหลักการเรียนรู้เชิงรุกและสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกได้

          2. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการคิดและสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือส่งเสริมทักษะการคิดของผู้เรียนได้

          3. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนได้

          4. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เข้าใจหลักการวัดและประเมินผลผู้เรียนและสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนได้

          5. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับเครือข่ายสังคมออนไลน์และสามารถใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างสร้างสรรค์ได้

 

 

 

 

นิสิต/นักศึกษาครู  ครู/อาจารย์  นักการศึกษา/บุคลากรทางการศึกษา  และผู้สนใจทั่วไป

 

 

 

 

เข้าครบทุก Unit ร่วมกันทำกิจกรรมอย่างน้อย 80%  และแบบทดสอบหลังเรียน 70%

 

 

 

 

 

 

ผศ.ดร.นัทธีรัตน์   พีระพันธุ์  

Nutteerat   Pheeraphan

อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา

คณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

E-mail : nutteerat.mooc@gmail.com

 

 

 

 

ผู้ช่วยสอน : นางสาววรมณ ช่อไม้ทอง

Woramon  Chomaitong

คณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

E-mail : woramon.mooc@gmail.com

 

 

 

ผู้อบรมควรสอนอยู่ในโรงเรียนที่ห้องเรียนมีอุปกรณ์สมาร์ทโฟน หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ และนักเรียนสามารถใช้สมาร์ทโฟนในการเรียนรู้ได้

 

 

 

 

 

Creative Common แสดงสัญญาอนุญาตสิทธิ์  CC BY NC SA

"สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org)

และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์

แบบ Creative Common ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA"

 

 

Enroll