ผศ.ดร.สมภพ รอดอัมพร
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
E-Mail: somphop@g.swu.ac.th
คำอธิบายรายวิชา
รายวิชานี้เรียนรู้เกี่ยวกับบทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลในปัจจุบัน หลักการโปรแกรม C เบื้องต้น คำสั่งเงื่อนไขและคำสั่งทำซ้ำในภาษา C หลักการโปรแกรมภาษา Python สถาปัตยกรรมบอร์ด Kidbright สถาปัตยกรรมบอร์ด Raspberry Pi การเขียนโปรแกรมเพื่อนำข้อมูลสัญญาณจากเซ็นเซอร์สิ่งแวดล้อมสู่ IoT เรียนรู้หลักการวัดสัญญาณชีพจากร่างกายมนุษย์ การเขียนโปรแกรมเพื่อตรวจวัดสัญญาณชีพจรและสัญญาณคลื่นหัวใจ การเขียนโปรแกรมเพื่อตรวจวัดสัญญาณชีพจรและสัญญาณคลื่นหัวใจเข้าสู่ระบบ IoT
จำนวนชั่วโมงเรียนรู้
จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 30 ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 20 ชั่วโมง)
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
1. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจบทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลในปัจจุบัน
2. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถวิเคราะห์ในทฤษฎีและหลักการของการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
3. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในหลักการของบอร์ด IoT ต่างๆ
4. ผู้เรียนสามารถประยุกต์ความรู้ด้านเทคโนโลยีระบบสมองกลฝังตัวและเทคโนโลยี IoT ในการแก้ปัญหาได้
คุณสมบัติผู้เรียน
นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ทุกเพศ ทุกวัย ที่สนใจสามารถเรียนได้
เกณฑ์การวัดผล
เข้าทำแบบทดสอบระหว่างเรียน แบบทดสอบกลางภาค และแบบทดสอบปลายภาค
ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้
ทีมผู้รับผิดชอบรายวิชา SWU 015
อ.สุทธิพันธ์ อักษรเนียม
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
E-Mail: suttipan@g.swu.ac.th
อ.อาคม ม่วงเขาแดง
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
E-Mail: arkhomm@g.swu.ac.th
ดร.ธีระศักดิ์ จันทร์วิเมลือง
ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
E-Mail: theerasak@g.swu.ac.th
Creative commons สัญญาอนุญาตสิทธิ์
“สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org)
และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”