ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ทักษะนักข่าวในยุคดิจิทัล | Journalists' survival guide in Digital age


TBJA

คำอธิบายรายวิชา

“ทักษะนักข่าวในยุคดิจิทัล” เป็น “หลักสูตรการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์โครงการวิจัยการพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านสื่อและภาควิชาการ” ดำเนินการโดย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ได้รับการสนับสนุนโดย กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ที่มุ่งหวังพัฒนาศักยภาพคนทำงานด้านสื่อในภาควิชาชีพและภาควิชาการ ในการเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและมุมมองความคิด เพื่อนำไปสู่เป้าหมายในการยกระดับความรู้ ความสามารถ ทักษะ ประสบการณ์ และมุมมอง ความคิดให้เท่าทันภูมิทัศน์ และระบบนิเวศสื่อที่เปลี่ยนแปลงไปกับเทคโนโลยีในยุคดิจิทัล

          “ทักษะนักข่าวในยุคดิจิทัล” เป็นผลมาจากการพัฒนาและออกแบบร่วมกันของบุคลากรด้านสื่อทั้งในภาควิชาชีพและภาควิชาการเพื่อให้ได้หลักสูตรที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสถานการณ์สื่อในปัจจุบัน รวมถึงเป็นหลักสูตรที่บุคลากรด้านสื่อสามารถทำการอบรมได้ทั้งในแบบออฟไลน์และออนไลน์ โดยเนื้อหาของหลักสูตร จำแนกออกเป็น 6 หมวดวิชา ประกอบด้วย 1. การตรวจสอบข้อเท็จจริง (Fact-Checking) 2. ข้อมูล (Data) 3. บริบท (Context) 4. ผู้ชม (Audience) 5.การเล่าเรื่อง (Storytelling) 6. กลยุทธ์และการขาย (Strategy and Selling) และ 7. จริยธรรมใหม่ความรู้สึกร่วม และความรับผิดชอบต่อสังคม (New Ethics, Empathy and Social Responsibility)

 

จำนวนชั่วโมงเรียนรู้

จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 6 ชั่วโมงเรียนรู้ 2 ชั่วโมงการเรียนรู้/ต่อสัปดาห์ (เปิดเรียน 3 สัปดาห์) 

(จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 4 ชั่วโมง 40 นาที)

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายเทคนิคกลยุทธ์ในการผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

2. ประยุกต์ทักษะที่หลากหลายในการผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

3. วิเคราะห์ความคิดเห็นเกี่ยวกับการผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

4. จำแนกเครือข่ายบุคลากรด้านสื่อและภาควิชาการ

5. สรุปประเมินงานด้านวิชาการและวิชาชีพสื่อให้มีประสิทธิภาพ

คุณสมบัติผู้เรียน

นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ทุกเพศ ทุกวัย ที่สนใจสามารถเรียนได้

เกณฑ์การวัดผล

เข้าทำแบบทดสอบก่อนเรียน กิจกรรมในบทเรียน แบบทดสอบระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน

ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้

ทีมผู้รับผิดชอบรายวิชา MOOC

ผู้รับผิดชอบหลัง #1  อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหลัก

นางสาวนิรมล ประสารสุข

หัวหน้าโครงการวิจัยการพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านสื่อและภาควิชาการ และผู้จัดการสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย

อาจารย์ #2  อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหลัก

ดร.นิลรำไพ ภัทรนนท์

นักวิชาการ

ช่องทางติดต่อทีมผู้สอน

e-Mail ccdkm.org@gmail.com เบอร์ (02) 504 8756

คุณปุ้ย 098-9626423 , 096-6510328
คุณมายด์ 080-0503275

cc

Creative commons สัญญาอนุญาตสิทธิ์

“สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org)
และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”

Enroll