ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

จิตวิทยาพัฒนาการวัยสูงอายุ | Developmental Psychology in Elderly


WU
ปิดการลงทะเบียนแล้ว

รายวิชาเรียนตามอัธยาศัย

รายวิชานี้ได้ปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเป็น

"การเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced)"

จำนวนชั่วโมงเรียน/จำนวนหน่วยกิต : 5 ชม
จำนวนชั่วโมงที่ต้องใช้ในการเรียนรุ้ต่อสัปดาห์/
หรือต่อครั้ง :
2 ชั่วโมง
ระดับของเนื้อหารายวิชา : เนื้อหาเรียนตามอัธยาศัย
ประเภทของการเรียนในรายวิชา : เรียนด้วยตนเอง (เรียนแบบออนไลน์ 100%)
ระดับความยากของเนื้อหารายวิชา : เบื้องต้น
รายละเอียดเกณฑ์การวัดและประเมินผล: เข้าทำแบบทดสอบก่อนเรียน / มีผลคะแนนแบบทดสอบระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียนไม่น้อยกว่า 50%

 
 คำอธิบายรายวิชา

            วัยสูงอายุเป็นวัยสุดท้ายของชีวิต บุคคลวัยนี้มีประสบการณ์ชีวิตมากกว่าบุคคลทุกวัย ได้เรียนรู้วิธีการดำเนินชีวิตในแบบฉบับและบริบทของตน ได้พบกับประสบการณ์ที่มีความสุข ความประทับใจ และความทุกข์ รวมถึงได้เรียนรู้วิธีการเผชิญกับปัญหาและแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยผู้สูงอายุบางรายเป็นเสมือนที่พึ่งทางใจของทุกคนในครอบครัว บางรายมีโอกาสถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆ ให้แก่คนรุ่นหลังด้วยความสุขและภาคภูมิใจ บางรายดำเนินชีวิตด้วยความยากลำบาก ในช่วงท้ายของวัยจะเป็นช่วงชีวิตที่ต้องพบกับการสูญเสียบุคคลใกล้ชิดหรือบุคคลผู้เป็นที่รัก ผู้สูงอายุที่มีการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์เปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้เป็นอย่างดีจะเป็นผู้ที่สามารถใช้ชีวิตต่ออย่างมีความสุข ขณะที่ผู้สูงอายุบางรายไม่สามารถผ่านเหตุการณ์หรือภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นได้ ย่อมส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพและการดำเนินชีวิตที่เหลืออยู่

            การเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของบุคคลวัยสูงอายุ ด้านร่างกาย ด้านสังคม ด้านจิตใจและอารมณ์ ความต้องการของบุคคลวัยสูงอายุ ปัญหาหรือภาวะวิกฤติที่พบได้บ่อย แนวทางแก้ไขปัญหาหรือภาวะวิกฤติ แนวทางการสร้างเสริมสุขภาวะของบุคคลวัยสูงอายุ การเรียนรู้อยู่ร่วมกันกับบุคคลวัยสูงอายุ

 
 วัตถุประสงค์การเรียนรู้

            LO1 : อธิบายการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายของบุคคลวัยสูงอายุได้

            LO2 : อธิบายการเปลี่ยนแปลงด้านสังคม/ธรรมชาติ/สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อบุคคลวัยสูงอายุได้

            LO3 : อธิบายการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจและอารมณ์ของบุคคลวัยสูงอายุได้

            LO4 : ระบุปัญหาหรือภาวะวิกฤติที่พบได้บ่อย แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาหรือภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นในวัยสูงอายุได้

            LO5 : ให้คำแนะนำเกี่ยวกับแนวทางการสร้างเสริมสุขภาวะของบุคคลวัยสูงอายุและการเรียนรู้อยู่ร่วมกันกับบุคคลวัยสูงอายุได้

 
 คุณสมบัติและความรู้พื้นฐานของผู้เรียน

            ไม่มี

 
 ทีมอาจารย์ผู้สอน

Course Staff Image #1

รศ.ดร.วิภาวรรณ ชะอุ่ม เพ็ญสุขสันต์

(Assoc.Prof.Dr.Wipawan Chaoum Pensuksan)

อาจารย์ประจำสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

   e-mail : pwipawan@wu.ac.th

Course Staff Image #2

อาจารย์จิรพัฒน์ นาวารัตน์ (Mr.Jiraphat Nawarat)

อาจารย์ประจำสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

e-mail : nsuparoe@wu.ac.th

Course Staff Image #2

ดร.ก.สินศักดิ์ สุวรรณโชติ(Dr.K.Sinsak Suvanchot)

พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

e-mail : ksinsak@gmail.com

cc

Creative common สัญญาอนุญาตสิทธิ์

“สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”