อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา
อาจารย์มณีรัตน์ กำลังเกื้อ
สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
e-Mail: manirat.ka@wu.ac.th
เข้าใจและพัฒนาทักษะทางภาษาไทยทั้งการรับสารและส่งสาร โดยในด้านการรับสารสามารถพัฒนาทักษะการจับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่านและที่ฟัง การวิเคราะห์เชื่อมโยงประเด็นย่อย ๆ จากเรื่องที่ฟังและอ่านจนเข้าใจและสามารถยกระดับเป็นความรู้ใหม่ การเสนอข้อคิดเห็นหรือให้คุณค่าต่อเรื่องที่อ่านและฟังได้อย่างมีเหตุผลและสอดคล้องกับคุณค่าทางสังคม ในด้านการส่งสารสามารถพัฒนาทักษะการนำเสนอความคิดผ่านการพูดและการเขียนได้อย่างมีประเด็นสำคัญและส่วนขยายที่ช่วยให้ประเด็นความคิดชัดเจนและเป็นระบบ การนำข้อมูลทางสังคมมาประกอบสร้างเป็นความรู้หรือความคิดที่ใหญ่ขึ้น การพูดและการเขียนเพื่อนำเสนอความรู้ทางวิชาการที่เป็นระบบและน่าเชื่อถือ |
จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 10 ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 3 ชั่วโมง 43 นาที)
1. ผู้เรียนอธิบายการแก้ปัญหาโดยใช้วิธีคิดแบบต่าง ๆ ได้
2. ผู้เรียนสามารถบอกรายละเอียดจากเรื่องที่ฟังได้
3. ผู้เรียนสามารถพูดอภิปรายและโต้วาทีได้
4. ผู้เรียนสามารถแยกแยะข้อเท็จจริงกับข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่านได้
5. ผู้เรียนสามารถเขียนความเรียง หนังสือราชการ รายงานวิชาการ และกาพย์ยานี 11 ได้
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย นักศึกษาระดับปริญญาตรี รายวิชา ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารร่วมสมัย และ ภาษาไทยพื้นฐาน และบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจ
เข้าทำแบบทดสอบก่อนเรียน กิจกรรมในบทเรียน แบบทดสอบระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้
อาจารย์มณีรัตน์ กำลังเกื้อ
สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
e-Mail: manirat.ka@wu.ac.th
อาจารย์พัชรพร สาลี
สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
e-Mail: phatcharaphorn.sa@wu.ac.th
อาจารย์ธีรวัฒน์ กล่าวเกลี้ยง
สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
e-Mail: theerawat.kl@wu.ac.th
อาจารย์ทัดดาว รักมาก
สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
e-Mail: thatdao.ra@wu.ac.th
อาจารย์อนุชสรา เรืองมาก
สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
e-Mail: anutsara.ru@wu.ac.th
อาจารย์อัญมาศ ภู่เพชร
สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
e-Mail: anyamas.ph@wu.ac.th
“สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org)
และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”