อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมาน ธีระรัตนสุนทร
สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
หัวหน้าสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน
รายวิชานี้เป็นรายวิชาที่แนะนำให้ผู้เรียนได้รู้ถึงสุขภาพและการสาธารณสุข ประวัติความเป็นมาของการสาธารณสุข การบริการด้านสุขภาพ และปัจจัยกำหนดสุขภาพ รวมถึงหลักและวิธีการส่งเสริมสุขภาพอนามัย การป้องกันและควบคุมโรค การบำบัดโรคเบื้องต้น และการฟื้นฟูสภาพแก่บุคคล ครอบครัว ชุมชน โรงเรียน และสถานประกอบการ ตลอดจนแนวคิดและความสำคัญของชุมชนสุขภาวะและการมีคุณภาพชีวิตที่ดี
จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 5 ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 3 ชั่วโมง 18 นาที)
1. ผู้เรียนสามารถอธิบายถึงแนวคิด ความหมาย ความสำคัญ และความเป็นมาเกี่ยวกับสุขภาพและการสาธารณสุขได้
2. ผู้เรียนสามารถระบุ และอธิบายปัจจัยกำหนดสุขภาพและการบริการด้านสุขภาพ รวมถึงสามารถอธิบายแนวคิดและความสำคัญของชุมชนสุขภาวะ และการมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้
3. ผู้เรียนสามารถอธิบายหลักการและวิธีการส่งเสริมสุขภาพ แก่บุคคล ครอบครัว ชุมชน โรงเรียน และสถานประกอบการได้
4. ผู้เรียนสามารถอธิบายหลักการและวิธีการป้องกันและควบคุมโรค แก่บุคคล ครอบครัว ชุมชน โรงเรียน และสถานประกอบการได้
5. ผู้เรียนสามารถอธิบายความหมาย ความสำคัญ วิธีการบำบัดโรคเบื้องต้น และการฟื้นฟูสภาพแก่บุคคลได้
นักศึกษาระดับปริญญาตรี ผู้ประกอบการอาชีพบริการสุขภาพ และประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจ
เข้าทำแบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน กิจกรรมในบทเรียน และแบบทดสอบประมวลรายวิชา (Final Exam)
ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมาน ธีระรัตนสุนทร
สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
หัวหน้าสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน
อาจารย์ จารุเนตร เพ็ชรชู
สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
อาจารย์ ดร.ดนิตา จำปาแก้ว
สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
อาจารย์ ปภัสรา ช้างกลาง
สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
อาจารย์ ภูวศินทร์ บัวเกษ
สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
email : jaruneth.pe@wu.ac.th / phiman.th@wu.ac.th Tel. 075-677276-4
“สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org)
และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”