การบริหารค่าตอบแทนยากจริงหรือ
หากท่านรู้หลักการของการบริหารค่าตอบแทน
ท่านจะร้องว่า ... ไม่ยากเลย
ปัญหาเดิม คือ
จะไป ... หาความรู้จากที่ไหน
เมื่อหาเจอ ... ค่าใช้จ่ายในการเรียนก็สูงมาก
เรียนจบแล้ว ... ไม่สามารถนำไปใช้ได้จริง
หยุดทุกปัญหา
วันนี้ท่านหาความรู้เรื่องค่าตอบแทนได้ที่นี่
ไม่มีค่าใช้จ่าย
นำไปใช้ได้จริง
เรียนได้ทุกที่ทุกเวลา
แล้วจะช้าอยู่ทำไม
รายวิชา
“การบริหารค่าตอบแทน”
(Compensation Management and Benefit)
คำอธิบายรายวิชา
แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ค่าตอบแทน การจัดทำโครงสร้างระดับงาน โครงสร้างเงินเดือนและระบบการบริหารเงินเดือน และสวัสดิการ บริหารและประเมินผลการดำเนินงานค่าตอบแทน รวมทั้งแนวทางการสื่อสารระบบค่าตอบแทนให้กับพนักงาน
จำนวนชั่วโมงเรียนรู้
จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 6 ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 2 ชั่วโมง 10 นาที)
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
- อธิบายทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับค่าตอบแทน
- อธิบายวิธีการวิเคราะห์งาน การจัดทำใบกำหนดหน้าที่งาน การประเมินค่างาน และการจัดโครงสร้างระดับตำแหน่งงาน
- อธิบายการคำนวณค่ากระบอกค่าจ้างและจัดทำโครงสร้างเงินเดือน
- อธิบายการกำหนดค่าจ้างคนเข้าใหม่ การคิดคำนวณการขึ้นเงินเดือน และวิธีการปรับเงินเดือนเพื่อไม่ให้เงินเดือนคนเข้าใหม่แซงเงินเดือนคนเก่าที่มีอยู่ในองค์การ
- อธิบายวิธีการการจัดสวัสดิการให้แก่พนักงาน และอธิบายวิธีการชี้แจงระบบการให้ค่าตอบแทนขององค์การแก่พนักงาน
คุณสมบัติผู้เรียน
สำหรับผู้ที่สนใจจะสอบวัดระดับคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาการบริหารผลงาน นักศึกษา นักบริหารบุคคล และผู้บริหารองค์กร
เกณฑ์การวัดผล
เข้าทำแบบทดสอบก่อนเรียน / มีผลคะแนนแบบทดสอบระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียนไม่น้อยกว่า 70%
ทีมผู้สอนและพัฒนา MOOC
ชื่อผู้สอน ดร.อุทัย สวนกูล
|
|
ชื่อผู้สอน ดร.วิเชศ คำบุญรัตน์
|
ปฏิทินการสอน
วิชานี้ ผู้เรียนสามารถเรียนหัวข้อต่างๆ ตามอัธยาศัย ในเวลาที่ตนเองสะดวก อย่างไรก็ดี ทีมผู้สอนขอแนะนำให้เรียนรู้และทำกิจกรรมตามลำดับชั่วโมงเรียนรู้ ดังนี้
บทที่ 1: ทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับค่าตอบแทน
1.1 แนวคิดและความหมายของค่าตอบแทน และการจ่ายตามตำแหน่ง จ่ายตามตัวคน และจ่ายตามความสำเร็จ
1.2 ความหมายของดุลยภาพภายในองค์การ ดุลยภาพภายนอกองค์การ และดุลยภาพระหว่างบุคคลในการบริหารค่าตอบแทน
บทที่ 2: วิธีการวิเคราะห์งาน การจัดทำใบกำหนดหน้าที่งาน การประเมินค่างาน และการจัดโครงสร้างระดับตำแหน่งงาน
2.1 ความหมายการวิเคราะห์งานและวิธีการวิเคราะห์งาน
2.2 ความสำคัญของการจัดทำใบกำหนดหน้าที่งาน
2.3 ความสำคัญของการประเมินค่างาน
2.4 สรุปการจัดโครงสร้างระดับงาน
บทที่ 3: การคำนวณค่ากระบอกค่าจ้างและการจัดทำโครงสร้างเงินเดือน
3.1 ความหมายและระบุองค์ประกอบของโครงสร้างเงินเดือน
3.2 หลักการคำนวณกระบอกค่าจ้าง
3.3 การทำโครงสร้างเงินเดือน
บทที่ 4: การกำหนดค่าจ้างคนเข้าใหม่ การคิดคำนวณการขึ้นเงินเดือน และวิธีการปรับเงินเดือนเพื่อไม่ให้เงินเดือนคนเข้าใหม่แซงเงินเดือนคนเก่าที่มีอยู่ในองค์การ
4.1 วิธีการกำหนดค่าจ้างคนเข้าใหม่
4.2 วิธีการคำนวณการขึ้นเงินเดือน
4.3 วิธีการคำนวณปรับเงินเดือนคนเก่าเพื่อไม่ให้เงินเดือนคนเข้าใหม่สูงกว่าเงินเดือนคนเก่า
บทที่ 5: วิธีการการจัดสวัสดิการให้แก่พนักงาน และอธิบายวิธีการชี้แจงระบบการให้ค่าตอบแทนขององค์การแก่พนักงาน
5.1 วิธีการจัดสวัสดิการให้แก่พนักงาน
5.2 วิธีชี้แจงระบบการระบบค่าตอบแทนขององค์การให้พนักงานทราบ
บทที่ 6: ถามตอบไขข้อข้องใจด้านการบริหารค่าตอบแทน
ประมวลรายวิชา
พัฒนาในกรอบความร่วมมือของ เครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนบน
สอนโดย คณะวิทยาการจัดการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์